เศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการโซ่อุปทานของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ตําบลเสือเฒ่า อําเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

เกศจิตต์ ขามคุลา
มนันยา นันทสาร
ปริญญา เปรมโต
นฤดล สวัสดิ์ศรี
มัสลิน ปูนอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการโซ่อุปทานผักสภาพปัญหาและอุปสรรคของการผลิตผักในแต่ละห่วงโซ่อุปทานรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกิดในชุมชนและการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงห่วงโซ่อุปทานของเกษตรกรผู้ปลูกผักจากการวิจัยมีผลการศึกษาดังนี้สภาพทั่วไปของเกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรและส่วนใหญ่ทำนาควบคู่กับการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ทั้งนี้ลักษณะการผลิตผักของเกษตรกรส่วนใหญ่ผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนและเหลือไว้สำหรับจำหน่ายบริบทสภาพปัญหาพบว่าพื้นที่ตำบลเสือเฒ่าไม่มีแหล่งชลประทานและแหล่งน้ำที่เพียงพออีกทั้งการรวมกลุ่มการผลิตการแปรรูปและการจำหน่ายยังมีน้อยปัจจัยการผลิตมีราคาสูงเกษตรกรขาดความรู้ในการแก้ปัญหาด้านศัตรูพืชขาดมาตรฐานการเก็บรักษาและการจัดการการตลาดที่ไม่เป็นระบบเท่าที่ควรรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกิดในชุมชนพบว่าเกษตรกรมีการปลูกพืชควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์และนำผลพลอยได้จากการเลี้ยงสัตว์มาใช้ในการปลูกพืชจากนั้นได้นำเศษพืชกลับไปใช้ในการเลี้ยงสัตว์และได้รวมกลุ่มลงแขกปลูกพืชพร้อมทั้งเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วยกันเกษตรกรมีการรวมกลุ่มก่อตั้งศูนย์การผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการผลิตและระบบเศรษฐกิจของชุมชนเกษตรกรได้รวมกลุ่มกันนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตผักมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยชีวภาพสำหรับใช้เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนต่อเนื่องอย่างยั่งยืนและก่อให้เกิดความคุ้มค่ากลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการปลูกผักแบบรุ่นต่อรุ่นจึงก่อให้เกิดการอนุรักษ์วิถีการดำรงอาชีพรวมไปถึงการสืบทอดภูมิปัญญาแบบไม่ได้ตั้งใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย