การออกแบบและสร้างแพปลูกพืชลอยน้ำด้วยผักตบชวา

Main Article Content

รัฏฐชัย สายรวมญาติ
วรลักษณ์ สุริวงษ์
พัชราภรณ์ อินริราย
ธวัลรัตน์ สัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

ผักตบชวา (water hyacinth) เป็นวัชพืชที่มีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหาต่อแหล่งน้ำต่างๆเพื่อลดปัญหาดังกล่าวรวมถึงเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาของแพปลูกพืชลอยน้ำและมวลที่ทำให้แพจมพอดีเพื่อทำนายสมการความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงที่เหมาะสมสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบและสร้างแพปลูกพืชลอยน้ำด้วยผักตบชวาต่อไปผลการศึกษาพบว่าเมื่อนำลำต้นผักตบชวาไปตากแห้งได้ค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของผักตบชวาแห้งมีค่าเท่ากับ 0.111 ก / ซมแสดงถึงความสามารถในการลอยตัวที่ดีของผักตบชวาและเมื่อนำไปคำนวณหาแรงลอยตัวและมวลที่ทำให้แพจมพอดีที่ความหนาของแพ 4 6 8 และ 10 ซม. พบว่าแพสามารถรับน้ำหนักของมวลได้เพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความหนาของแพโดยรับน้ำหนักได้สูงสุดเท่ากับ 6.72 กก. ที่ความหนาของแพ 10 ซม. และให้สมการความสัมพันธ์แบบเส้นตรงคือ y = 0.7398X-1.089 ค่า R เท่ากับ 0.9495 และเมื่อทำการออกแบบและสร้างแพให้มีขนาดความกว้าง 50 ซม. ยาว 50 ซม. จากการใช้ลำต้นผักตบชวามาผูกติดกันและเรียงซ้อนทับกันเป็นชั้นตาม 4 ระดับความหนาที่ออกแบบไว้ผลการทดลองพบว่าแพที่มีความหนา 10 ซม. สามารถรับน้ำหนักได้สูงสุดเท่ากับ 7.19 กก. และให้สมการความสัมพันธ์แบบเส้นตรงคือ y = 0.8259x-1.0343 ค่า R 0.9983 และเมื่อทำการเปรียบเทียบค่ามวลที่ทำให้แพจมพอดีที่ได้จากการคำนวณกับการทดลองให้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) เท่ากับ 0.162 – 1.029 นั่นคือสมการความสัมพันธ์แบบเส้นตรงที่ทำนายได้จากทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) เมื่อมีการนำดินเหนียวที่มีค่าความหนาแน่นรวมเท่ากับ 2.09 ก / ซมหนา 30 ซม. วางบนแพสำหรับปลูกผักลอยน้ำต้องมีการออกแบบและสร้างแพให้มีความหนา 191.04 ซม. ที่จะทำให้แพเกิดการจมพอดีซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบและสร้างแพปลูกพืชลอยน้ำอีกทั้งการศึกษาในครั้งนี้ยังเป็นแนวทางในการช่วยลดปัญหาของผักตบชวาในแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูกต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย