แบบจําลองทางคณิตศาสตร์ของการอบแห้งใบมันสําปะหลังแบบชั้นบาง เพื่อเตรียมเป็นอาหารสัตว์

Main Article Content

ศักดิ์ชัย ดรดี
สิริพร ขันทองคํา

บทคัดย่อ

มันสำปะหลังเป็นพืชอาหารสัตว์ที่มีโปรตีนสูงในส่วนของใบลำต้นก้านและชิ้นส่วนโดยรวมกระบวนการสังเคราะห์ไซยาไนด์ (Cyanogenesis) เป็นการป้องกันตัวเองของพืชจากการถูกทำลายของแมลงศัตรูพืชหรือสิ่งมีชีวิตที่กินพืชซึ่งปริมาณไซยาไนด์สามารถลดลงได้ด้วยกระบวนการทางความร้อนวัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้คือการหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการทำนายการอบแห้งแบบชั้นบางของใบมันสำปะหลังเพื่อเตรียมเป็นอาหารสัตว์ภายใต้เครื่องอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับการพาอากาศร้อนนอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Hendersion and Pabis, Logarithmic, Two-Term) สำหรับอธิบายพฤติกรรมของการอบแห้งแบบชั้นบางเงื่อนไขการทดลองที่อุณหภูมิแตกต่างกัน 4 ระดับ (50, 70, 90, 110° C) ก่อนการอบแห้งใบมันสำปะหลังจะนำไปฝั่งที่อากาศแวดล้อมเป็นเวลา 0, 24, and 72 hr ตามลำดับแบบจำลองทางด้านคณิตศาสตร์จะเปรียบเทียบกับพารามิเตอร์ทางสถิติเช่นค่า R2, RC, Adj, R2และค่าความผิดพลาดจากการศึกษาพบว่าการเพิ่มอุณหภูมิของการอบแห้งทำให้ค่าความชื้นและอัตราส่วนความชื้นลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราการอบแห้งและลดระยะเวลาของการอบแห้งอุณหภูมิและระยะเวลาการฝั่งมีผลอย่างมากต่อจลนศาสตร์ของการอบแห้งใบมันสำปะหลังจากการพิจารณาแบบจำลองทางด้านคณิตศาสตร์สามรูปแบบพบว่าแบบจำลองของ Two term เหมาะสมที่สุดสำหรับอธิบายพฤติกรรมการอบแห้งใบมันสำปะหลัง

Article Details

บท
บทความวิจัย