การคัดเลือกยีสต์ที่มีความทนต่อแรงกดดันและการแปรผันอุณหภูมิต่อการผลิตเอทานอลโดยใช้ น้ำอ้อยเป็นแหล่งคาร์บอน

Main Article Content

กุสุมาวดี ฐานเจริญ
จิรานันท์ สําโรงพล
พรสุดา แก่นนาคํา
พัชรีพร บุญลิตร

บทคัดย่อ

การคัดแยกยีสต์ทนร้อนจากตัวอย่างชานอ้อยของโรงงานน้ำตาลด้วยอาหาร Yeast extract-Peptone-Dextrose (YPD) medium ที่เติมเอทานอลร้อยละ 4 (v v) บ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสสามารถคัดแยกยีสต์ได้ทั้งหมด 98 ไอโซเลตคัดเลือกยีสต์ที่มีความสามารถผลิตเอทานอลจากการสร้างแก๊สในอาหารเหลวพบว่ามียีสต์จำนวน 23 ไอโซเลตที่สร้างแก๊สตั้งแต่ 4.0-5.0 เซนติเมตรในหลอดดักแก๊สการทดสอบความทนต่ออุณหภูมิและความทนต่อน้ำตาลพบว่ายีสต์ที่คัดเลือกได้ทุกไอโซเลตสามารถเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 37-45 องศาเซลเซียสมีบางไอโซเลตที่สามารถเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 47 เซลเซียส ได้แก่ รหัส BRMU02, BRMU03, BRMU04, SRMU06, SRMU08, BRMU12, SRMU17, BRMU19, BRMU29 และ BRMU30 อย่างไรก็ตามยีสต์ที่คัดเลือกทุกไอโซเลตไม่สามารถเจริญได้ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสผลการทดสอบความทนต่อน้ำตาลพบว่ายีสต์ที่คัดเลือกได้ทุกไอโซเลตสามารถเจริญได้ดีที่ความเข้มข้นกลูโคสสูงสุดร้อยละ 30 (w / v) และมียีสต์ 9 ไอโซเลตที่เจริญได้ดีที่ความเข้มข้นไซโลสสูงสุดร้อยละ 20 (w / v) การผลิตเอทานอลในอาหารสังเคราะห์ที่อุณหภูมิ 37 องศา | เซลเซียสพบว่ายีสต์รหัส BRMU29, BRMU19 และ BRMU0s ให้ผลได้เอทานอลสูงสุดเป็นร้อยละ 7.28, 7.05 และ 6.89 (96, v / v) ตามลำดับเมื่อศึกษาผลของอุณหภูมิ 37, 40 และ 45 องศาเซลเซียสต่อการผลิตเอทานอลพบว่ายีสต์รหัส BRMU29 สามารถผลิตเอทานอลได้ดีที่สุดเป็นร้อยละ 3.76, 3.64 และ 3.68 (w / v) ที่เวลา 36, 48 และ 60 ชั่วโมงตามลำดับจากงานวิจัยในครั้งนี้พบว่ายีสต์ทั้ง 3 ไอโซเลตมีความน่าสนใจในการนำไปใช้เป็นเชื้อตั้งต้นเพื่อผลิตเอทานอลเนื่องจากสามารถเจริญได้ดีและผลิตเอทานอลได้สูงที่อุณหภูมิสูงและยังมีความสามารถในการทนต่อน้ำตาลความเข้มข้นสูงซึ่งจะช่วยในการลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์อื่นในระหว่างการหมัก

Article Details

บท
บทความวิจัย