การวิเคราะห์ความเข้มข้นกรดไขมันที่ระเหยได้ทั้งหมด และค่าความเป็นกรด-ด่าง จากของเหลวในกระเพาะหมักของโคนมเจาะกระเพาะ ด้วยวิธีเนียร์อินฟาเรดสเปคโตรสโกป

Main Article Content

ธีระกุล นิลนนท์
ฤทธิชัย พิลาไชย
กษมา ชารีโคตร
ศรัญญา ศรัญญา

บทคัดย่อ

การวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และการวัดระดับความเข้มข้นของกรดไขมันระเหยได้ (volatile fatty acid; VFA) ในของเหลวจากกระเพาะหมัก (rumen fluid) เป็นวิธีการมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยภาวะความเป็นกรดในกระเพาะหมักในโคนม การศึกษาที่ผ่านมาบ่งชี้ว่าการตรวจระดับ VFA จากตัวอย่างต่างๆ โดยใช้เทคนิคอินฟาเรดสเปกโทรสโกปีย่านใกล้ (Near-infrared spectroscopy; NIRS) ให้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือในการนำไปใช้เพื่อการวิเคราะห์หาค่าได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มข้นของ VFA และค่า pH จากของเหลวในกระเพาะหมักจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ กับค่าความเข้มข้นของ VFA และค่า pH จากของเหลวในกระเพาะหมักโดยการประยุกต์ใช้เทคนิค NIRS สร้างสมการทำนาย โดยทำการตัวอย่างของเหลวจากกระเพาะหมักโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเซียนลูกผสมที่เปิดผ่ากระเพาะหมักและเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะกระเพาะหมักเป็นกรดด้วยอาหารข้น จำนวน 128 ตัวอย่าง วิเคราะห์ตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการหาความเข้มข้น VFA และค่า pH โดยใช้เครื่อง Gas Chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS) และ pH meter ตามลำดับ และวัดค่าด้วยเทคนิค NIRS เพื่อสร้างสมการทำนายค่า ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของ VFA และค่า pH การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เท่ากับ 105.82 nM (105.82±39.74) และ 5.4±0.44 ตามลำดับ การวิเคราะห์ทางสถิติทำนายความเข้มข้นของ VFA และค่า pH ด้วยเทคนิค NIRS มีค่าสหสัมพันธ์ (R) เท่ากับ 0.93 และ 0.85 ตามลำดับ การประยุกต์ใช้เทคนิค NIRS วิเคราะห์ความเข้มข้นของ VFA และค่า pH จากตัวอย่างของเหลวจากกระเพาะหมัก ถือว่าเป็นเทคนิคที่มีความน่าเชื่อถือระดับปานกลางในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านการวิจัย ซึ่งจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้มีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
นิลนนท์ ธ. ., พิลาไชย ฤ., ชารีโคตร ก., & ศรัญญา ศ. (2021). การวิเคราะห์ความเข้มข้นกรดไขมันที่ระเหยได้ทั้งหมด และค่าความเป็นกรด-ด่าง จากของเหลวในกระเพาะหมักของโคนมเจาะกระเพาะ ด้วยวิธีเนียร์อินฟาเรดสเปคโตรสโกป. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(1), 64–74. https://doi.org/10.14456/paj.2021.8
บท
บทความวิจัย