ประสิทธิภาพของอาหารสูตรดัดแปลงผสมผลไม้ท้องถิ่นต่อการเพิ่มจำนวนแมลงหวี่ในระยะ ตัวหนอนและตัวเต็มวัย

Main Article Content

ศุภชัย นิติพันธ์
มาณี แก้วชนิด
ตวงพร สุนทรชัยนุกุล

บทคัดย่อ

แมลงหวี่ (Drosophila melanogaster) เป็นสัตว์ทดลองที่สำคัญสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การเพาะเลี้ยงแมลงหวี่ในห้องปฏิบัติการจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ละห้องปฏิบัติการมีการพัฒนาสูตรอาหารโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นส่วนผสม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอาหารสูตรดัดแปลง 5 สูตร ประกอบด้วยสูตรมะม่วงสุก (T1) มะละกอสุก (T2) สับปะรดสุก (T3) ซังขนุนสุก (T4) และซังจำปาดะสุก (T5) กับอาหารสูตรควบคุม (T0) ต่อจำนวนแมลงหวี่ระยะตัวหนอนและตัวเต็มวัย จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าจำนวนแมลงหวี่ในระยะตัวหนอนและตัวเต็มวัยจากการเพาะเลี้ยงด้วยอาหารดัดแปลงทุกสูตรมีจำนวนมากกว่าอาหารสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.00006 และ p=0.00001) อาหารดัดแปลงสูตรมะละกอสุก (T2) และซังขนุนสุก (T4) มีจำนวนแมลงหวี่ในระยะตัวหนอนเพิ่มขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 72.2±11.4 และ 70.4±22.3 ตัว จำนวนตัวเต็มวัยเฉลี่ยเท่ากับ 49.0±4.0 และ 40.8±2.8 ตัว ตามลำดับ ในอาหารสูตร T1 และ T4 อัตราส่วนของผลไม้ที่เหมาะสมระหว่าง 2–8% (โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) จำนวนแมลงหวี่ในระยะตัวหนอนมากที่สุด (112.67±34.82 ตัว) พบในอาหารสูตร T4–4% เป็นอาหารที่ผสมซังขนุนสุก 4% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร อาหารสูตร T2–6% ที่ผสมมะละกอสุก 6% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และสูตร T4–4% มีจำนวนแมลงหวี่ในระยะตัวเต็มวัยสูงกว่าสูตรอื่น ๆ เท่ากับ 43.3±18.4 ตัว และ 41.3±16.4 ตัว ตามลำดับ นอกจากนี้อาหารสูตรดัดแปลงสูตรซังขนุนสุกอัตราส่วน 4% โดยน้ำหนักต่อปริมาตรและมะละกอสุกอัตราส่วน 6% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ไม่มีผลต่อการสืบพันธุ์และการเจริญของแมลงหวี่ในรุ่นถัดไป เมื่อศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของแมลงหวี่ที่ได้รับอาหารสูตรดัดแปลงจนถึงรุ่นที่ 3 (F3) พบว่าแมลงหวี่มีลักษณะทางการภาพและอัตราส่วนของตัวผู้ต่อตัวเมียไม่แตกต่างจากการเลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุม

Article Details

How to Cite
นิติพันธ์ ศ., แก้วชนิด ม. ., & สุนทรชัยนุกุล ต. (2022). ประสิทธิภาพของอาหารสูตรดัดแปลงผสมผลไม้ท้องถิ่นต่อการเพิ่มจำนวนแมลงหวี่ในระยะ ตัวหนอนและตัวเต็มวัย. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(1), 45–50. https://doi.org/10.14456/paj.2022.4
บท
บทความวิจัย

References

Ashburner, M. (1989). Drosophila: A laboratory handbook. (2nd ed.). New York: Cold Spring Harbor laboratory Press.

Ashburner, M., & Roote, J. (2007). Maintenance of a Drosophila laboratory: general procedures. Accessed August 20, 2021. Retrieved from http://cshprotocols.cshlp.org/content/2007/3/pdb.ip35

Catchpoole, D. (2005). Too dry for a fly. Creation, 28(1), 34–35.

Euawong, N. (2012). Drosophilla for genetic experiments. Department of Biology, Faculty of Science. Nakhon Pathom: Silpakorn University Press. (In Thai)

Matthews K. A. (1994). Care and feeding of Drosophila melanogaster. In L. S. B. Goldstein & E. A. Fyrberg (Eds.), Methods in cell biology (2nd ed., pp. 13–32). San- Diego: Academic Press.

Mohapatra, A. K., & Pandey, P. (2018). Fecundity of inbred fruit fly Drosophila melanogaster on different solid culture media: An Analysis. Journal of Applied and Natural Science. 10(4), 1109–1114.

Silpasorn, T., Bunchasak, C., & Attmangkune, S. (2003, Febuary). Effects of methionine supplementation in low–protein diet on production, reproductive organs, abdominal fat and liver composition of laying–hens raised in closed house system. Paper presented at the Proceeding of 41st Kasetsart University Annual Conference: Animals, Veterinary Medicine, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Uysal, H., Aydogan, M. N., & Algur, O. F. (2002). Effect of single cell protein as a protein source in Drosophila Culture. Brazilian Journal of Microbiology, 33(4), 314–317.

Yee, T. S. (2010). Optimization of fruit fly (Drosophila melanogaster) culture media for higher yield of offspring (Research report). Perak: University of Tunku Abdul Rahman.