การศึกษาสภาพการเลี้ยง เศรษฐกิจ และความต้องการลักษณะภายนอกด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกร ในการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กชกร สายพัฒน์
วลัยลักษณ์ แก้ววงษา
ฤทธิชัย พิลาไชย

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยงควาย เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย        และศึกษาความต้องการลักษณะภายนอก โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรในการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยในจังหวัดอุดรธานี โดยเก็บแบบสอบถามจากเกษตรกรผู้เลี้ยงควายในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 150 ราย และเจ้าหน้าที่       ปศุสัตว์ ปราชญ์ควายไทยอุดรธานี จำนวน 20 ราย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ในการเลี้ยงควายเพียงพอ แรงงานที่ใช้ในการเลี้ยงควาย 1 - 2 คนต่อฟาร์ม มีประสบการณ์เลี้ยงควายส่วนใหญ่ 6 - 10 ปี มีจำนวนควายต่อฟาร์มส่วนใหญ่ น้อยกว่า 5 ตัว มีคอกและโรงเรือนเฉพาะในการเลี้ยงควาย ใช้หญ้าสดและฟางข้าวเป็นอาหารหยาบ แต่ส่วนใหญ่ไม่มีการเสริมอาหารข้นและก้อนแร่ธาตุสำหรับเลี้ยงควาย การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้การผสมจริงและผสมเทียม บางกรณี เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการจดบันทึกการเลี้ยงควาย และมีรายได้ต่ำกว่า 50,000 บาทต่อปี จากการขายพ่อและแม่พันธุ์ควายและปุ๋ยคอก เกษตรกรพบปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงควายในระดับปานกลาง มีความต้องการระดับมากในการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย และมีแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เกษตรกรตัดสินใจคัดเลือกควายสำหรับการผสมพันธุ์ด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ โดยต้องการคัดเลือกลักษณะควายพ่อและแม่พันธุ์ในระดับมากจากใบพันธุ์ประวัติ          การประกวดควาย และโครงสร้างลักษณะภายนอกตามอุดมทัศนีย์ควายไทย ระดับการศึกษาและประสบการณ์ของเกษตรกรที่แตกต่างกัน มีสภาพปัญหาการเลี้ยงควายและความต้องการองค์ประกอบในการพิจารณาคัดเลือกควายพ่อและแม่พันธุ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

Article Details

How to Cite
สายพัฒน์ ก., แก้ววงษา ว. . . ., & พิลาไชย ฤ. . . . (2023). การศึกษาสภาพการเลี้ยง เศรษฐกิจ และความต้องการลักษณะภายนอกด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกร ในการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยในจังหวัดอุดรธานี. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(1), 113–119. https://doi.org/10.14456/paj.2023.14
บท
บทความวิจัย

References

Anuan, P. (2016). Legal problems in Thailand in the conservation of Thai buffaloes. Bangkok: Thammasat University. (in Thai)

Beef Cattle, Buffalo and Product Development Working Group. (2018). Thai buffalo strategy A.D. 2018 -2022. Bangkok: Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (in Thai)

Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2013). Thai buffalo farming guide. Bangkok: Public Relations Group Bureau of Livestock Promotion and Development, Department of Livestock Development. (in Thai)

Intawicha, P., Tana, S., Krueasan, S., Saengwong, S., Sorachakula, C., Danmek, K., Attabhanyo, R., Dongpaleethun C., & Teepatimakorn., S. (2017). The study of situation buffalo raising and satisfaction on academic service in Phayaov Province. King Mongkut’s Agricultural Journal, 35(3), 69-78.

Kubkaew, K. (2010). Wisdom of selecting Thai buffaloes. Bangkok: Organic Livestock Center, Animal Breeding Division, Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (in Thai)

Phasuk, K., & Ruangchoengchum, P. (2016). Approaches to enhance productivity of buffaloes in Ubon Ratchathani province. MBA-KKU Journal, 9(1), 203-215.

Rattamana, J., Phaengsoi, K., & Panthahai, T. (2018). Development of a breeding model for buffalo conservation in Thailand. Journal of MCU Social Science Review, 7(2), 205-264. (in Thai)

Srisak, T. (2006). Thai water buffalo: community economic animals for sustainable self-reliance. Nonthaburi: Office of the Civil Service Commission (OCSC), Civil Service Training Institute College of Management. (in Thai)

Sukkasem, K., Chulanan, K., Pantiwa, S., & Nonsuwan, E. (2019). Study of conditions of raising buffaloes of farmers in Tambon Tha Muang, Selaphum district, Roi Et province. Khon Kaen Agricultural Journal, 47, special issue 2, 111-115. (in Thai)

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Yamkong, S., Nguyen, N. T., & Sarakul, M. (2017). A study of the external characteristics used in genetic selection and preservation of swamp buffaloes with local wisdom of farmers in Si Songkhram district, Nakhon Phanom province. Journal of Yala Rajabhat University, 14(1), 109-118. (in Thai)