การเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพริกหวานด้วยน้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวร

Main Article Content

พิราวรรณ วสุนันต์
พีระยศ แข็งขัน
ชัชพงศ์ บางใบ
ปริญดา แข็งขัน
เอกรินทร์ สารีพัว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มุ่งเน้นการสำรวจผลของสนามแม่เหล็กถาวรและระยะเวลาในการแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำที่ผ่านสนามแม่เหล็กต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกหวานพันธุ์แคลิฟอร์เนีย โดยนำเมล็ดมาแช่น้ำที่ผ่านสนามแม่เหล็กถาวร ตามแผนการทดลอง 3X4 Factorial experimental in randomized complete block design ดังนี้ ปัจจัย A ความเข้มสนามแม่เหล็กถาวร 3 ระดับ (0 mT, 25 mT, 50 mT) ปัจจัย B ระยะเวลาในการแช่น้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวร มี 4 ระดับ (0 3 6, 9 ชม.) จากนั้นนำเมล็ดผึ่งให้แห้งและทดสอบความงอกมาตรฐาน ความแข็งแรงและการเจริญเติบโตของต้นกล้า พบว่า ความเข้มสนามแม่เหล็กถาวร 50 mT ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกในห้องปฏิบัติการ (P<0.05) การแช่เมล็ดในน้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวรเป็นเวลา 3 ชม. ช่วยลดเวลาเฉลี่ยในการงอก เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกและดัชนีการงอกของเมล็ด (P<0.01) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเข้มสนามแม่เหล็กถาวรและระยะเวลาในการแช่เมล็ด พบว่า การแช่เมล็ดในน้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวร 25 mT นาน 3 ชม. ช่วยให้เวลาเฉลี่ยในการงอกน้อยที่สุด (8.43 วัน) ในโรงเรือนการแช่เมล็ดในน้ำผ่านสนามแม่เหล็กความเข้ม 25 mT นาน 6 ชม. ให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูงสุด (84 เปอร์เซ็นต์) และดัชนีการงอกเฉลี่ย 3.89 ต้น/วัน (P<0.05) การแช่เมล็ดในน้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวร 25 mT นาน 3 ชม. ช่วยให้ความยาวต้นกล้าในสัปดาห์ที่ 1 สูงสุด ส่วนการแช่ในน้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวร 50 mT นาน 6 ชม. เพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบต้นกล้าในสัปดาห์ที่ 2 สูงสุด (26.85 SPAD unit) ดังนั้นปัจจัยที่เหมาะสมในการเพิ่มคุณภาพการงอกของเมล็ดพริกหวาน คือความเข้มสนามแม่เหล็ก 25 mT และระยะเวลา 6 ชม.  

Article Details

How to Cite
วสุนันต์ พ. ., แข็งขัน พ., บางใบ ช. ., แข็งขัน ป., & สารีพัว เ. . (2024). การเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพริกหวานด้วยน้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวร. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 21(1), 245–254. https://doi.org/10.14456/paj.2024.29
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พีระยศ แข็งขัน, ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีระยศ แข็งขัน

ปริญดา แข็งขัน, สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญดา แข็งขัน

References

Ahamed, M. E. M., Elzaawely, A. A., & Bayoumi, Y. A. (2013). Effect of magnetic field on seed germination, growth and yield of sweet pepper (Capsicum annuum L.). Asian Journal of Crop Science, 5(3), 286-294. doi: 10.3923/ajcs.2013.286.294

Aladjadjiyan, A. (2002). Study of the influence of magnetic field on some biological characteristics of Zea mais. Journal of Central European Agriculture, 3(2), 89-94.

Alemán, E. I., Moreira R., O., Lima, A. A., Silva, S. C., González‐Olmedo, J. L., & Chalfun‐Junior, A. (2014). Effects of 60 Hz sinusoidal magnetic field on in vitro establishment, multiplication, and acclimatization phases of Coffea arabica seedlings. Bioelectromagnetics, 35(6), 414-425. doi: 10.1002/bem.21859

Atak, Ç., Emiro¤lu, Ö., Alikamano¤lu, S., & Rzakoulieva, A. (2003). Stimulation of regeneration by magnetic field in soybean (Glycine max L. Merrill) tissue cultures. Journal of Cell and Molecular Biology, 2(2), 113-119.

Carbonell, M. V., Martinez, E., & Amaya, J. M. (2000). Stimulation of germination in rice (Oryza sativa L.) by a static magnetic field. Electro-and Magnetobiology, 19(1), 121-128. doi: 10.1081/JBC-100100303

Chaemchamrat, S., & Phurahong, N. (2022). Effect of magnetic field-treated water on growth and yield of Leum Pua Glutinous rice. Journal of Agricultural Production, 4(3), 51-61. (in Thai)

Florez, M., Alvarez, J., Martinez, E., & Carbonell, V. (2019). Stationary magnetic field stimulates rice roots growth. Romanian Reports in Physics, 71(3), 1-8.

International Seed Testing Association (ISTA). (2018). International rules for seed testing 2018. Wallisellen, Switzerland: International Seed Testing Association (ISTA).

Karkush, M. O., Ahmed, M. D., & Al-Ani, S. M. A. (2019). Magnetic field influence on the properties of water treated by reverse osmosis. Engineering, Technology & Applied Science Research, 9(4), 4433-4439. doi: 10.48084/etasr.2855

Khaengkhan, P. (2023). Seed germination stimulant with magnetic fields. Accessed December 4, 2023. Retrieved from https://res.msu.ac.th/2023/04/18/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0% B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%A1/. (in Thai)

McDonald, M. B. (1999). Seed deterioration: physiology, repair and assessment. Seed Science and Technology, 27(1), 177-237.

Reina, F. G., & Pascual, L. A., (2001). Influence of a stationary magnetic field on water relations in lettuce seeds. Part I: theoretical considerations. Bioelectromagnetics, 22(8), 589-595. doi: 10.1002/bem.88

Reina, F. G., Pascual, L. A., & Fundora, I. A. (2001). Influence of a stationary magnetic field on water relations in lettuce seeds Part II experimental results, Bioelectromagnetics, 22(8), 596-602.doi: 10.1002/bem.89

Senglathsamy, K., Chim-Oye, T., & Fuangfoong, M. (2017). Study of static electric and magnetic field’s effects on rice seed germination rate and seedling growth of Kao Jao Deng (Oryza sativa L.) from Lao PDR. Thai Science and Technology Journal, 25(3), 424-434. doi: 10.14456/tstj.2017.35 (in Thai)

Ülgen, C., Birinci Yildirim, A., Yıldırım, A. B., & Turker, A. U. (2017). Effect of magnetic field treatments on seed germination of Melissa officinalis L. International Journal of Secondary Metabolite, 4 (Spec. 1), 43-49. doi: 10.21448/ijsm.356283

Vashisth, A., Singh, R., & Joshi, D. K. (2013). Effect of static magnetic field on germination and seedling attributes in tomato (Solanum lycopersicum). Journal of Agricultural Physics, 13(2), 182-185.

Wetchakama, N., & Khaengkhan, P. (2018). Improvement of seed qualities with seed priming techniques. Prawarun Agricultural Journal, 15(1), 17-30. (in Thai)