ตัวแบบทำนายความต้องการทำงานของผู้สูงอายุจังหวัดสงขลาและจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการทำงานของผู้สูงอายุ และสร้างตัวแบบทำนายความต้องการทำงานของผู้สูงอายุจังหวัดสงขลาและจังหวัดขอนแก่น ข้อมูลตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ข้อมูลผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ในจังหวัดสงขลา 558 คน และขอนแก่น 718 คน รวม 1,276 คน จากโครงการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ สถิติวิเคราะห์ได้แก่ การทดสอบไคกำลังสอง (Chi-squared test)การวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก (Logistic regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุจำนวน 549 คน (ร้อยละ 43.0) ใน 1,276 คน มีความต้องการทำงาน โดยความต้องการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา (ร้อยละ 43.2) และขอนแก่น (ร้อยละ 42.9) ไม่แตกต่างกัน (P-value=0.916) ผู้สูงอายุที่มีวัยต่างกันจะมีความต้องการทำงานแตกต่างกัน (P<0.05; P-value=0.000) โดยผู้สูงอายุวัยก่อนเกษียณอายุมีความต้องการทำงาน (ร้อยละ 67.2) มากกว่าผู้สูงอายุวัยหลังเกษียณอายุ (ร้อยละ 33.6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความต้องการทำงานของผู้สูงอายุ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน การเป็นเจ้าของบ้าน ประวัติการรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ รายได้ ความเพียงพอของรายได้ การอ่านออกเขียนได้ ระยะเวลาที่ต้องการทำงานต่อ สถานะอยู่อาศัยในครัวเรือน ภาวะสุขภาพร่างกาย สถานภาพการมีงานทำในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตัวแบบในการทำนายความต้องการทำงานของผู้สูงอายุซึ่งสามารถทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 86.4 ด้วยปัจจัยทำนายเพียงปัจจัยเดียวคือ สถานภาพการมีงานทำในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง) พิมพ์ครั้งที่ 2. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/download/laws/th1643088696-841_0.pdf
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดขอนแก่น. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2566-2570. เข้าถึงได้จาก https://www.khonkaen.go.th/khonkaen6/fileDir/vision/20230430-Plan66-70-1.pdf
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดสงขลา. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2561-2565 ฉบับทบทวน พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.songkhla.go.th/files/com_news_develop_plan/202007_1a959e630a5165d.pdf
จุติพร สุวกุลศิริ, วารุณี มิลินทปัญญา, และ ศตวงศ์ ทิมเย็น. (2564). ความต้องการทำงานหลังเกษียณอายุของผู้ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมค้าปลีก ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี , 8(1), 95-107.
ธาราทิพย์ พ่วงเชียง. (2550). ความต้องการทำงานของผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงษ์พันธ์ แจ่มสว่าง. (2563). ความต้องการทำงานหลังเกษียณอายุราชการของข้าราชการทหารบก. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 11(3), 93-103.
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2562). ความต้องการทำงานของแรงงานในหน่วยงานภาครัฐหลังเกษียณอายุ กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 14(2), 42-63.
วิชิต จรุงสุจริตกุล. (2559). การศึกษาลักษณะงาน ผลตอบแทน สวัสดิการและการส่งเสริมการมีงานทำที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 117-122.
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (กรกฏาคม 2564). รายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report) โครงการการส่งเสริมการมีงานทำที่มีคุณค่าสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสังคมสำหรับคนทุกวัยในประเทศอาเซียนบวกสามระหว่างและภายหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1635741067-974_0.pdf
วีรวรรณ แก้วใส. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการทำงานต่อในระบบราชการของข้าราชการที่ใกล้เกษียณอายุราชการ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. เข้าถึงได้จาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3070/1/61602349.pdf
ศูนย์บริหารข้อมูลตลาดแรงงานภาคเหนือ กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2564). รายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลการวัดบุคลิกภาพเพื่อการศึกษาต่อและการเลือกอาชีพผ่านระบบส่งเสริมการมีงานทำ. เข้าถึงได้จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/52652233b832acd8191809c0d75e3f5c.pdf
สอวช. (13 เมษายน 2564). ผู้สูงอายุไทยต้องปรับตัวอย่างไร? เพื่อพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Active Aging). เข้าถึงได้จาก https://www.nxpo.or.th/th/8078/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). ข้อมูลสถิติที่สำคัญ. เข้าถึงได้จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/index.aspx
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/domographic/OlderPersons/2021/fullreport_64.pdf
สุเนตร สุวรรณละออง. (2561). ความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุ ในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(50), 45-67.