พฤติกรรมการเปิดรับ ความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกลุ่มสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์
Main Article Content
Abstract
การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการเปิดรับ ความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางประชากรพฤติกรรมการเปิดรับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ความพึงพอใจในการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์และการใช้ประโยชน์จากการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับ และการใช้ประโยชน์จากการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ จำแนกตามลักษณะทางประชากร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์กับพฤติกรรมการเปิดรับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หวังประโยชน์จากการอ่านกับความพึงพอใจในการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับหนังสือพิมพ์ออนไลน์กับความพึงพอใจในการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกลุ่มสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ 6 แห่งจำนวน 400 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (T-test Independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวน 1 ตัวประกอบ (One-way - Analysis of Variance) และ ค่าไคสแควร์(Chi Square) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
สมมุติฐานที่ 1 นักศึกษาที่มีเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ชั้นปีที่เรียน และคณะทที่เรียนต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สมมติฐานที่ 2 นักศึกษาที่มีเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ปีที่เรียน และคณะที่เรียนต่างกัน มีความคาดหวังจากการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ต่างกัน
สมมติฐานที่ 3 ความคาดหวังประโยชน์จากการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการเปิดรับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของนักศึกษาราชภัฏในกลุ่มสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
สมมุติฐานที่ 4 ความคาดหวังประโยชน์จากการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการเปิดอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของนักศึกษาราชภัฏในกลุ่มสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
สมมุติฐานที่ 5 ความถี่ในการอ่านหนังสือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ และลักษณะพฤติกรรมการอ่านข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการเปิดรับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ
Exposure Satisfaction and Uses of Online Newspapers among Rajabhat University Students in Rattanakosin College Group.
The objectives of this study are 1) to survey demographic characteristics of students who read online newspapers, exposure behavior, uses and gratification with online newspapers, 2) to compare students’ exposure behavior and uses of online newspapers classified by demographic characteristics 3) to test the correlations between user and exposure behavior 4) to test the correlations between uses and gratification with reading online newspapers 5) to investigate the relationship between exposure and satisfaction with reading online newspapers.
Four hundred undergraduates were selected using multi-stage sampling technique. Descriptive statistics were used to describe the demographic characteristics, level of exposure, uses and gratification of online newspapers. The inferential statistics i.e. one-way ANOVA, Chi-square test were used for hypothesis testing.
The results revealed that:
1. There was significant difference in exposure to online newspaper among students with different age, gender, average monthly stipend, year of study.
2. There was significant difference in the expectation of benefit gained by reading online newspaper among students with different gender, age, average monthly stipend and year of study.
3. The expectation of benefit was correlated with frequency of exposure to online newspapers significantly at P = 0.01
4. The expectation of benefit was significantly correlated with gratification with reading online newspapers at P = 0.01
5. Frequency of exposure and other exposure behavior correlated significantly with satisfaction with reading online newspapers at P = 0.01
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.