Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • เป็นบทความด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งไม่เคยได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารฉบับอื่น
  • กรุณาให้ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์มือถือของท่านไว้ใน ข้อความถึงบรรณาธิการ (Comment for Editor) และกดบันทึก รวมถึงหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ในช่องทางดังกล่าว
  • การทำงานผ่านระบบวารสารออนไลน์ ทางวารสารจะติดต่อและแจ้งข้อความต่าง ๆ ผ่านอีเมลของท่านที่ได้กรอกเข้าสู่ระบบเป็นหลัก เพื่อให้เข้ามารับ-ส่ง ข้อมูลผ่านระบบเว็บไซต์วารสารฯ ดังนั้นขอให้ตรวจสอบกล่องจดหมายของท่านว่าได้รับอีเมลของวารสารฯหรือไม่ และหากไม่ได้รับอีเมลใด ๆ หลังจากส่งบทความนี้ (บางครั้งอาจตกอยู่ใน spam mail) กรุณาติดต่อที่ journal@nstru.ac.th
  • ต้นฉบับต้องเป็นไฟล์ word พิมพ์ในกระดาษขนาด Executive (18.41 × 26.67 ซม.) โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ ขอบบน 2.5 ซม. ขอบล่าง 2.5 ซม. ขอบซ้าย 2.3 ซม. ขอบขวา 2.5 ซม. พิมพ์คอลัมน์เดียวกระจายเต็มบรรทัด โดยใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาดตัวอักษร 15 และมีจำนวนหน้าไม่เกิน 16 หน้า

ประกาศสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขชัยนาท จํากัด เรื่อง  แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์ขอรับทุนสวัสดิการเพื่อการศึกษาบุตรของสมาชิก ประจำปี  2562 – สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขชัยนาท

Download คำแนะนำสำหรับการทำงานผ่านระบบวารสารออนไลน์ สำหรับผู้แต่ง (อัพเดต-มกราคม 2565)

Download คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ 

Download รูปแบบบทความวิจัยของวารสารวิชชา (Wichcha template-research article)

Download รูปแบบบทความวิชาการของวารสารวิชชา (Wichcha template-academic article)


การเตรียมต้นฉบับ

      พิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ (สำหรับต้นฉบับภาษาอังกฤษควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเป็นเบื้องต้นก่อน)

      การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนกับภาษาไทยในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น ศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีคำแปลหรือคำที่ใช้แล้วทำให้เข้าใจง่ายขึ้น คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เขียนปนภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะ

      จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ใช้กระดาษขนาด Executive (18.41 × 26.67 เซนติเมตร) โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ ด้านบน 2.5 เซนติเมตร ด้านล่าง 2.5 เซนติเมตร ด้านซ้าย 2.3 เซนติเมตร ด้านขวา 2.5 เซนติเมตร พิมพ์คอลัมน์เดียวกระจายเต็มบรรทัด ด้วยตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาดตัวอักษร 15 และมีความยาวของบทความไม่เกิน 16 หน้า

ส่วนประกอบในบทความ

1. บทความวิจัย (research article) เป็นบทความที่เป็นผลงานต่อเนื่อง สกัดมาจากงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์แล้วซึ่งผู้เขียนได้ดำเนินการด้วยตนเองประมวลสรุปกระบวนการวิจัยให้มีความกระชับและสั้น มีองค์ประกอบเรียงตามลำดับดังนี้

      ชื่อเรื่อง (title) ควรสั้น กะทัดรัด ไม่ยาวจนเกินไป ให้เขียนชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาอังกฤษในบรรทัดถัดไป

      ชื่อผู้เขียนบทความ (authors and co-authors) ให้ระบุชื่อเต็ม-นามสกุลเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อตัวและนามสกุล ถ้ามีผู้วิจัยหลายคนให้ใส่ลำดับเลข พร้อมระบุที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และชื่อหน่วยงานของผู้วิจัยที่ส่วนล่างของหน้าแรก และให้ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ที่ตำแหน่งผู้ประสานงานหลัก (corresponding author) พร้อมทั้งระบุอีเมล์สำหรับติดต่อ (e-mail: address)

      บทคัดย่อ (abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกินอย่างละ 300 คำ บทคัดย่อที่เขียนควรสั้น ตรงประเด็น และให้สาระสำคัญเท่านั้น โดยเรียงลำดับบทคัดย่อภาษาไทยก่อนตามด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษ

      คำสำคัญ (keywords) ให้ใช้คำที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องซึ่งเป็นตัวแทนบอกวิธีการวิจัย ประเด็นที่วิจัย ผลการวิจัย การใช้ประโยชน์หรือสถานที่ที่ทำวิจัย คำสำคัญนี้ให้เขียนทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในตอนท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษาอย่างละไม่เกิน 5 คำ

      บทนำ (introduction) อธิบายถึงที่มา ความสำคัญของปัญหา และเหตุผลที่นำไปสู่การศึกษาวิจัย ให้ข้อมูลทางวิชาการที่มีการตรวจเอกสาร (literature review) โดยระบุถึงแหล่งที่มาของข้อมูล (อ้างอิง) และจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัย

      วิธีดำเนินการวิจัย (research methods) อธิบายกระบวนการดำเนินการวิจัย โดยบอกรายละเอียดวัสดุ วิธีการศึกษา สิ่งที่นำมาศึกษา จำนวน ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา อธิบายแบบแผนการวิจัย การสุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน

      ผลการวิจัย (results) รายงานผลการวิจัยให้ได้ใจความชัดเจนและตรงประเด็นโดยยึดแนวทางตามวัตถุประสงค์เป็นหลัก ควรอธิบายผลการวิจัยด้วยคำบรรยายเป็นหลัก แต่ถ้ามีตัวเลขหรือตัวแปรมากควรนำเสนอเป็นภาพและตาราง แทรกในเนื้อหา พร้อมอธิบายผลการวิจัยให้ได้สาระครบถ้วน

      การอภิปรายผลการวิจัย (discussion) เป็นการชี้แจงผลการวิจัยว่าตรงกับวัตถุประสงค์/สมมติฐานของการวิจัย สอดคล้องหรือขัดแย้งกับผลการวิจัยของผู้อื่นที่มีอยู่ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป

      สรุปผลการวิจัย (conclusion) สรุปผลการวิจัยให้ได้ใจความชัดเจนและตรงประเด็น

      ข้อเสนอแนะ (suggestion) (ถ้ามี)

      กิตติกรรมประกาศ (acknowledgements) ให้ระบุว่างานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนหรือความช่วยเหลือจากองค์กรใด และบุคคลใดบ้าง

      เอกสารอ้างอิง (references) ให้ระบุเฉพาะเอกสารที่ผู้เขียนบทความได้นำมาอ้างอิงในบทความวิจัยอย่างครบถ้วน โดยระบุรายละเอียดและใช้รูปแบบการเขียนที่ถูกต้องครบถ้วน (ตามข้อ 4) จัดเรียงลำดับตามตัวอักษร โดยเรียงเอกสารภาษาไทยก่อนและตามด้วยเอกสารภาษาอังกฤษ

2. บทความทางวิชาการ (academic article) เป็นบทความที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร งานแปล และผลงานจากประสบการณ์ของผู้เขียนหรือได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ องค์ความรู้ การเสนอความคิดเห็นที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ทางวิชาการของสาขาต่าง ๆ มีองค์ประกอบเรียงตามลำดับดังนี้

      ชื่อเรื่อง (title) ควรสั้นกะทัดรัด ไม่ยาวจนเกินไป ให้เขียนชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาอังกฤษในบรรทัดถัดไป

      ชื่อผู้เขียน (authors and co-authors) ให้ระบุชื่อเต็ม-นามสกุลเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อตัวและนามสกุล ถ้ามีผู้วิจัยหลายคนให้ใส่ลำดับเลข พร้อมระบุที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และชื่อหน่วยงานของผู้วิจัยที่ส่วนล่างของหน้าแรก และให้ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ที่ตำแหน่งผู้ประสานงานหลัก(corresponding author) พร้อมทั้งระบุอีเมล์สำหรับติดต่อ (e-mail: address)

      สาระสังเขป (summary) เป็นการย่อเนื้อความของบทความทั้งเรื่องให้สั้นได้เนื้อหาสาระครบถ้วน

      คำสำคัญ (keywords) ให้ใช้คำที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องซึ่งเป็นตัวแทนบอกวิธีการ สิ่งที่ศึกษา ผลการศึกษา สาขา การใช้ประโยชน์และสถานที่ คำสำคัญให้เขียนทั้งคำสำคัญภาษาไทย และภาษาอังกฤษแต่ละชุดไม่เกิน 5 คำ

      บทนำ (introduction) กล่าวถึงความน่าสนใจของเรื่องที่นำเสนอ ก่อนเข้าสู่เนื้อหา

      เนื้อความ (content) ควรนำเสนอพัฒนาการของเรื่องได้อย่างน่าสนใจ และเนื้อเรื่องมีเนื้อหาใหม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน

      สรุป (conclusion) เป็นการย่อเฉพาะข้อมูลจากเนื้อความให้สั้นได้เนื้อหาสาระของเนื้อความครบถ้วน

      เอกสารอ้างอิง (references) ให้ระบุเฉพาะเอกสารที่ผู้เขียนบทความได้นำมาอ้างอิงในบทความวิชาการอย่างครบถ้วนรูปแบบของการเขียนเอกสารอ้างอิงให้จัดทำตามที่ระบุไว้ในข้อ 4 (เอกสารอ้างอิง)

3. ตารางและภาพประกอบ ให้จัดแทรกไว้ในเนื้อเรื่องโดยคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น โดยเนื้อหาและคำอธิบายในตารางและภาพสามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น 

     3.1 ตาราง เมื่อวางรูปตารางข้อมูลเรียบร้อยแล้วต้อง “กำกับ” ไว้ที่ด้านบนของตารางด้วยข้อความที่เป็น “ตารางที่... (เว้น 1 วรรค และตามด้วยชื่อตารางหรือคำอธิบายสั้น ๆ)” ส่วน “ที่มา” ของตาราง (ถ้ามี) ให้อยู่ด้านล่างของตาราง “ที่มา: … (เว้น 1 วรรคและตามด้วยอ้างอิง” (ชื่อ, ปี) ดังตัวอย่าง

4. การอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงที่ดัดแปลงมาจากสมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychological Association: APA) ดังนี้

     4.1 การอิงในเนื้อหา (in-text citation) ใช้การอ้างอิงแบบ “นาม-ปี”ทั้งนี้ให้ใส่ชื่อผู้แต่ง และปีที่พิมพ์ เช่นเดียวกับการอ้างอิงท้ายบทความ

            4.1.1 การเขียนอ้างอิงก่อนเนื้อหา

                            ภาษาไทย: จิรวัฒน์ (2554) ข้อความ..............................

                            ภาษาอังกฤษ: Tomson (2014) ข้อความ..............................

            4.1.2 การเขียนเนื้อหาก่อนการอ้างอิง

                            ภาษาไทย: ข้อความ............................... (จิรวัฒน์, 2554)

                            ภาษาอังกฤษ: ข้อความ.............................. (Tomson, 2014)

                            กรณีมีผู้แต่งคนเดียว  ภาษาไทย: ชื่อ/(ปี พ.ศ.)

                                                             ภาษาอังกฤษ: ชื่อสกุล/(ปี ค.ศ.)

                            กรณีมีผู้แต่ง 2 คน      ภาษาไทย: ชื่อคนที่ 1/และชื่อคนที่ 2/(ปี พ.ศ.) 

                                                             ภาษาอังกฤษ: ชื่อสกุลคนที่ 1/and/ชื่อสกุลคนที่ 2/(ปี ค.ศ.)

                            กรณีมีผู้แต่งมีตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป   ภาษาไทย: ชื่อคนที่ 1/และคณะ/(ปี พ.ศ.)

                                                                               ภาษาอังกฤษ: ชื่อสกุลคนที่ 1/et al./(ปี ค.ศ.)

     4.2 การอ้างอิงท้ายบทความ (reference section)

            หนังสือที่ตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม (print version)

                        ชื่อ/ชื่อสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./(ครั้งที่พิมพ์)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

                        ตัวอย่าง กรณีที่ตีพิมพ์ครั้งแรก

                        สรเมธี วชิรปราการ. (2551). เปิดชีวิตเทวดานางฟ้าไขปริศนาแดนสวรรค์. นนทบุรี: สมาร์ทบุ๊ค.

                        Almond, G.A. and Powell, B.G. (1976). Comparative political today. Boston: Little Brown and Company.

                        ตัวอย่าง กรณีที่ตีพิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป

                        เจือจันทร์ จงสถิต และรุ่งเรือง สุขาทิพย์. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังจริยธรรมของประเทศต่าง ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

                        Carpenter, J.W., Mashima, T.Y. and Rupiper, D.J. (2001). Exotic animal formulary. (2nd ed). Philadelphia: W.B. Saunders Company.

            หนังสือที่ออนไลน์ (electronic book)

                        ชื่อ/ชื่อสกุล./(ปีที่ออนไลน์)./ชื่อหนังสือ./สืบค้นเมื่อ/วัน/เดือน/ปี,/จาก:/http:............................... .

                        ตัวอย่าง The World Society for the Protection of Animals. (2013). The Cayman Turtle Farm: A continued case for change. Retrieved 10 July 2017, from: https://d31j74p4 lpxrfpcloudfront.net/sites/default/files/us_files/turtle_a_continued_case_for_change_report.pdf.

            วารสาร (journal)

                        ชื่อ/ชื่อสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่),/หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

                        ตัวอย่าง กรณีที่วารสารมีเลขหน้า

                        สมรักษ์ รอดเจริญ และการุณ ทองประจุแก้ว. (2559). สภาวะการเลี้ยงและองค์ประกอบทางเคมีของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Nostoc commune TISTR 8870) ที่ผ่านการดัดแปรด้วยคลื่นไมโครเวฟ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 8(2), 219-229.

                        Palzzo, A.J., Cory, T.J. and Hardy, S.E. (2003). Root growth and metal uptake in four grasses grown on Zn-contaminated soil. Journal of Environmental Quality, 32(3), 834-840.

                        ตัวอย่าง กรณีที่วารสารไม่มีเลขหน้า

                        Whan-air, W., Thongprajukaew, K., Salaeharae, T. and Yoonram, K. (2018). Identification of wild and farmed broadhead catfish (Clarias macrocephalus Günther, 1864) based on morphometry, digestive indexes and flesh quality. Journal of Oceanology and Limnolology, doi: https://doi.org/10.1007/s00343-018-7205-7.

            นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์

                        ชื่อ/ชื่อสกุล./(วัน/เดือน/ปี)./ชื่อบทความ./ชื่อนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์,/ปีที่,/หน้า.

                        ตัวอย่าง มาลินี ป้องกัน. (3 กรกฎาคม 2560). ลงทะเบียนคนจน. มติชน, 50, หน้า 12.

            บทหนึ่งในหนังสือ (book chapter)

                        ชื่อ/ชื่อสกุลผู้เขียนบท./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทหรือตอน./ใน/ชื่อ/ชื่อสกุลบรรณาธิการ./ชื่อหนังสือ,/หน้าแรก-หน้าสุดท้ายของบท./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

                        ตัวอย่าง มาลีนนท์ วุฒิจักร. (2560). สาหร่ายพวงองุ่น. ใน บัณฑิต คิดดี. เกษตรหน้าใหม่, หน้า 100-110. กรุงเทพฯ: อุดมศิลป์.

                        ตัวอย่าง Zambonino-Infante, J., Gisbert, E., Sarasquete, C., Navarro, I., Gutiérrez, J. and Cahu, C.I. (2009). Ontogeny and physiology of the digestive system of the marine fish larvae. In Cyrino, J.E.O., Bureau, D. and Kapoor, B.G. (Eds.). Feeding and digestive function of fish, pp. 277–344. Enfield: Science Publishers, Inc.

            วิทยานิพนธ์

                        ชื่อ/ชื่อสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./ระดับวิทยานิพนธ์./ชื่อมหาวิทยาลัย,/เมืองที่ตั้งมหาวิทยาลัย.

                        ตัวอย่าง จงลักษณ์ งิ้มนับใจ. (2550). สมรรถนะแห่งตนต่อการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

                        ตัวอย่าง Mirera, D.O. (2013). Capture-based mud crab (Scylla serrata) aquaculture and artisanal fishery in East Africa-Practical and ecological perspectives. Ph.D. thesis in Environmental Science. Linnaeus University, Kalmar.

            เว็บไซต์ (website)

                        ชื่อผู้จัดทำ./(ปีที่ออนไลน์)./ชื่อเรื่อง./สืบค้นเมื่อ/วัน/เดือน/ปี,/จาก:/http:......................... .

                        ตัวอย่าง อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์. (2542). ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2542, จาก: http://158.108.200.11//scil/009hom~1/009421/chap1.html.

                        ตัวอย่าง Adkins, J. (2016). Marine scientist devotes career to reversing trend of by catch. Retrieved 1 July 2018, from: https://phys.org/news/2016-03-marine-scientist-devotes-career-reversing.html.

            รายงานการประชุม

                        ชื่อ/ชื่อสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ชื่อการประชุมหรือการสัมมนา./สถานที่พิมพ์.

                        ตัวอย่าง สุรยุทธ แจ้งเกิด. (2559). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านบางปริก. การประชุมวิชาการความมั่นคงทางอาหารแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.

            รายงานการวิจัย

                        ชื่อ/ชื่อสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./รายงานวิจัย./ชื่อมหาวิทยาลัย.

                        ตัวอย่าง จันทิมา ชั่งสิริพร พรศิริ แก้วประดิษฐ์ และพฤกระยา พงศ์ยี่หล้า. (2559). การผลิตถ่านกัมมันต์จากถ่านไม้ยางพาราที่ได้จากโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับงานเครื่องกรองน้ำ. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

            บทหนึ่งในหนังสือการประชุม (proceeding) และเอกสารการสัมมนา

                        ชื่อ/ชื่อสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความหรือบท./ใน/ชื่อการประชุมหรือการสัมมนา/(หน้าแรก-หน้าสุดท้าย)./เมืองที่พิมพ์:/หน่วยงานที่จัดทำ.

                        ตัวอย่าง กรวรรณ มากสุข. (2555). วาทกรรมความงามของเด็กมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 3 (หน้า 22-35). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

            บทคัดย่อในการประชุมวิชาการ (abstract in conference)

                        ชื่อ/ชื่อสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ในบทคัดย่อ/ชื่อการประชุม/(หน้า)./เมืองที่พิมพ์:/หน่วยงานที่จัดทำ.

                        ตัวอย่าง Kovitvadhi, A., Chandang, P., Luapan, J., Sriyaphai, P., Buahom, R., Cham-iam, T., Leelehapongsathon, K., Tirawattanawanich, C. and Thongprajukaew, K. (2018). Screening three cricket species (Gryllus bimaculatus, Acheta domestica and Modicogryllus confirmata) for broiler diets by in vitro digestibility techniques. In Abstract of the 6th Mediterranean Poultry Summit (pp. 62). Torino: The Mediterranean Poultry Network of the World's Poultry Science Association.

การส่งต้นฉบับ

                ผู้สนใจตีพิมพ์จะต้องส่งไฟล์ต้นฉบับในรูปแบบ Microsoft Office Word และรูปแบบ PDF มายังกองบรรณาธิการผ่านระบบ online submission ของวารสาร ทาง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/wichcha/submission/wizard

 

หลักเกณฑ์การประเมินบทความเพื่อตอบรับการตีพิมพ์

                กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไปและความสอดคล้องกับขอบเขตของวารสาร ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไขหรือปฏิเสธการรับเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์ ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ประเมิน เมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไขจะแจ้งผลให้ผู้นิพนธ์ทราบผ่านทางระบบ online และเมื่อบทความได้รับการเผยแพร่ ผู้นิพนธ์จะได้รับการแจ้งเตือนจากวารสารผ่านทาง e-mail