การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กัลยารัตน์ ศิริรัตน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 2 ประการ คือเพื่อสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจำนวน 200 คน และเจ้าหน้าที่ดูแลด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการร้านค้าภายในวัดพระธาตุและประชาชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้คือ แบบสำรวจทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวและแบบสอบถามด้านการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วิธีการ แลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้

ทรัพยากรการท่องเที่ยวในวัดพระธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทรัพยากรด้านวัฒนธรรมและปัจจัยด้านศาสนามากที่สุด วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ มีอนุสาวรีย์ที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมา มีพิพิธภัณฑ์ที่สื่อความหมายชัดเจน ปัจจัยทรัพยากรด้านประเพณีและกิจกรรมด้านศาสนามากที่สุด มีพระเจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีโบสถ์ วิหาร สิ่งปลูกสร้างถาวรที่สำคัญ และมีกำแพงล้อมรอบกลุ่มองค์เจดีย์ที่ชัดเจน ปัจจัยทรัพยากรด้านบริการนักท่องเที่ยวปานกลาง ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการด้านการบูรณะ ปรับปรุงปานกลาง การจัดการกระจายได้สู่ท้องถิ่นปานกลาง การจัดการด้านกิจกรรมปานกลาง และการจัดการด้านการนำชมน้อย และการจัดการโดยชุมชนปานกลาง


Sustainable Tourism Management in Wat Phar MahathatWoramahavihen Nakhon Si Thammarat Province

There were two main objectives of this research. The first objective was to study the tourism resource audit in Wat Phar MahathatWoramahavihenNakhon Si Thammarat Province. The second objective was to study an opinion of sustainable tourism management in Wat Phar MahathatWoramahavihenNakhon Si Thammarat.

The sampling consists of 200 tourists, 200 tourism official, and shop business owner in Wat Phar MahathatWoramahavihen and people were used as the tools to collect the data and to analyze percentage and standard deviations.

The research results showed that:

The Cultural and Buddhism religious was the best. The factors were in heritage site, story of monuments, and museum. The Traditional and Buddhism religious was the best by especially authentic shape of Pagoda, important Vihern and Pagoda’s wall. The service of tourist was medium level. The opinion of sustainable tourism management were medium level as repair process for heritage site, generate incomes to community, tourist activities, and community base on. The presentation as tour guide was low level.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)