การปรับตัวของชุมชนทำนาอันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง : ศึกษากรณี ชุมชนทำนาตำบลทรายขาว อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
ผลการศึกษาพบว่าชุมชนทรายขาวเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง มีภูเขาเตี้ย ๆ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ถัดออกมาทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ พัฒนาการที่สำคัญเกี่ยวกับระบบการผลิตคือ การผลิตในช่วงของการพึ่งพิงธรรมชาติก่อนทศวรรษ 2510 หลังจากนั้นชาวทรายขาวก็พัฒนาสู่ยุคการผลิตที่พึ่งพิงเทคโนโลยี ส่วนการปรับตัวของชุมชนหลังจากการเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังพบลักษณะที่น่าสนใจคือ การปรับตัวสู่การทำนาแบบเข้มข้น การทำสวนยางพารา การปลูกปาล์มน้ำมัน การขุดโคกยกร่องและการปรับตัวที่หลากหลาย การปรับตัวดังกล่าวนี้ส่งผลให้สภาพความเป็นอยู่ของคนในทรายขาวดีขึ้น แต่หากมีการหนุนเสริม การช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกอย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับศักยภาพก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น การส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มและเครือข่ายเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง และการช่วยเหลือด้านการตลาด
Farmers’ Occupational Transitions After The Pakpanang Development Plan project : A Case Study of The Farmers’ Community in Tumbon Saikaow Amper Huasi Changwat Nakhorn Si Thammarat
The objective of this research is to study the development of community Saikaow and study of the Pakphanang Development Plan Project, and study the adaptation of people in Saikaow. The research is carried out by studying the related documents of the people’s local wisdom in the form of academic paper, research, and thesis, including the documents found in the area such as the ones from the local administration offices, and individual data such as printed obituaries or funeral books. The data are also collected through field surveys, observation, and interviews.
The result of the study shows that Saikaow community is located in the Pak Panang Basin. A low mountains situated west next to the east is the vast wetlands. A significant development on the production system is production during of reliance on natural the decades before since 1967. After that people to develop the manufacturing dependent on technology. The adaptation of the community after the launch of the Pak Panang River Basin Development Project found an interesting adaptation to intensive farming, the rubber plantation, the planting of oil palm, the digged the furrows and mounds and adapting the variety. Adaptation of such a result, the living conditions of the people in Saikaow better, however if it is to encourage and help from outside agencies, and consistent with the potential to affect the quality of life better, such as to encourage people to access knowledge about the occupation, to encourage groups and networks to increase their bargaining power and marketing assistance.
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.