การจัดการน้ำของชุมชนในพื้นที่ราบลุ่ม: ศึกษาชุมชนบ้านบางหว้า ตำบลเชียรเขา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

มานะ ขุนวีช่วย
ปุรเชรษฐ บุญยัง
ธนายุทธ์ สุดชู

Abstract

การวิจัยเรื่องการจัดการน้ำของชุมชนในพื้นที่ราบลุ่ม: ศึกษาชุมชนบ้านบางหว้า ตำบลเชียรเขา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้เรื่องน้ำและการจัดการของชาวบางหว้า ตำบลเชียรเขา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช

มีวิธีการศึกษาโดยการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งหมดนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุป และนำเสนอผลโดยใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ผลการศึกษาพบลักษณะของการจัดการน้ำที่น่าสนใจซึ่งค้นพบได้ในงานวิจัยนี้ คือ

การใช้ประโยชน์และการจัดการคลองเชียร คลองบางหว้า และคลองบางจันทร์ ถือเป็นคลองสายหลักในชุมชน มีการใช้ประโยชน์จากการหาสัตว์น้ำ การใช้ประโยชน์ในลักษณะของการเป็นเส้นทางคมนาคม และการนำน้ำมาใช้เพื่อการทำนา เป็นลำคลองสาธารณะ ชาวบ้านในพื้นที่มีสิทธิ์ที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างเสรีในรูปแบบของทรัพยากร “ของหลวง” ส่วนกรณีการเข้าถึงพบว่าสิทธิสำคัญอย่างหนึ่งที่มีความชัดเจนคือการหาสัตว์น้ำที่สิทธิ์เป็นของเจ้าของพื้นที่ริมฝั่งคลอง

การใช้ประโยชน์และการจัดการเหมือง มาบ บาง หนอง คู และบ่อ เป็นทั้งแหล่งน้ำที่เชื่อมต่อกับสายน้ำหลักและเป็นแหล่งน้ำที่อยู่โดด ๆ ในพื้นที่นา มีการใช้ประโยชน์หลายลักษณะ มีทั้งที่การใช้น้ำเพื่อการทำนา การเป็นตัวควบคุมรักษาสมดุลของน้ำในนาให้มีความเหมาะสม ในกรณีของหนอง การใช้เป็นแหล่งหาปลา การเป็นที่เก็บน้ำเพื่ออุปโภค ในการเข้าถึงแหล่งน้ำที่น่าสนใจ คือ การวางราพา (เศษกิ่งไม้)ในหนอง การวิดนอ (การไปจับปลาหลังจากจับไปแล้วครั้งแรก) และการปักกำ (การทำสัญลักษณ์แสดงความเป็นเจ้าของ)

การใช้ประโยชน์และการจัดการด้วยการขุดโคกยกร่อง คือการขุดพื้นที่ใหม่ให้มีพื้นดินสูงขึ้น ป้องกันน้ำท่วม ใช้พื้นดินนั้นเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ และใช้น้ำในคู เป็นลักษณะการผลิตที่มีควบคู่มากับชุมชน แต่ปัจจุบันมีการขุดโคกขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ พื้นที่ทั้งโคกและคูน้ำเป็นสิทธิของเจ้าของ หากผู้อื่นต้องการเข้ามาใช้ประโยชน์ก็ต้องมีลักษณะของความสัมพันธ์กับเจ้าของโคก

การจัดการน้ำแบบเหมืองหัวนา คูนา เป็นการจัดการน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำนา โดยการขุดเป็นคันดินเล็ก ๆ เพื่อให้เชื่อมต่อกับแหล่งน้ำ มีระบบการดูแลคือเหมืองหัวนาผ่านพื้นที่นาของใครคนนั้นเป็นผู้ดูแล ส่วนสิทธิการเข้าถึงนั้นผู้ที่มีที่นาใกล้เคียงกันจะรวมตัวกันไปดึงน้ำเข้านากรณีที่น้ำฝนมีปริมาณไม่เพียงพอ

การสร้างทำนบกั้นน้ำ คือการกั้นน้ำไม่ให้ไหลจากแหล่งต้นน้ำสู่คลองเร็วเกินไป เป็นการชะลอการไหลของน้ำแล้วนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการทำนา ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยระบบการจัดการน้ำแบบใหม่ชุมชนบ้านบางหว้าเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่พื้นที่ราบลุ่มของลุ่มน้ำปากพนัง มีความรู้และระบบการจัดการน้ำที่มีความสอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่ ด้วยระบบน้ำของชุมชนที่ราบลุ่มซึ่งมีโครงข่ายเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยคลองเหมืองและสายบาง และแหล่งน้ำอื่น ๆ เช่น หนอง คู มาบ ทำให้ชุมชนสามารถปรับความรู้แบบเดิมให้เข้ากับความรู้แบบใหม่ได้ ที่สำคัญคือการขุดโคกยกร่องที่พัฒนามาจากการขุดดินขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูน้ำหลาก มาเป็น

การปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และการทำเหมืองหัวนาร่วมกับโครงการจัดรูปที่ดินซึ่งสามารถดึงน้ำเข้ามาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม การจัดการน้ำบางลักษณะคือการสร้างทำนบกั้นน้ำ ซึ่งเป็นระบบการจัดการน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำนาที่สำคัญในอดีต ปัจจุบันถูกแทนที่โดยการจัดการน้ำแบบใหม่

กล่าวได้ว่าทรัพยากรแหล่งน้ำของชุมชนบางหว้ามีความหลากหลาย ทั้งในแง่ของแหล่งและในแง่ของการใช้ประโยชน์ ความหลากหลายเช่นนี้จึงเป็นทางเลือกที่มีมากหากว่าการจัดการในบางรูปแบบบางช่วงเวลาไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ ทางเลือกที่มีมากทำให้เกิดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งน้ำและทรัพยากรอื่น ๆ ได้แก่ สัตว์น้ำได้มากขึ้นเช่นกัน จึงสามารถสรุปได้ว่าความหลากหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่นำมาสู่วิถีชีวิตที่ดีของชาวบ้านชุมชนบางหว้านั่นเอง ดังนั้นการที่หน่วยงานที่มีส่วนกับการพัฒนาชุมชนต้องการเข้าไปเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องดูบริบทพื้นฐานของพื้นที่โดยเฉพาะความรู้ ภูมิปัญญาที่ชุมชนมีอยู่ และจะได้นำความรู้ของชุมชนนี้มา ประสานกับความรู้ใหม่ เพื่อการเสริมศักยภาพของชุมชนได้อย่างเต็มที่

 

Water Management in Lowland Area of Ban Bangwa Community, Tambon Chienkhoa, Amphoe Chalermphrakiet, Changwat Nakhon Si Thammarat

This research aims to studying the knowledge of the people in Ban Bang Wa Tambon Chienkhoa, the District of Chalermprakiet, the Province of Nakhonsithamarat.. It is carried out by observations, in-depth interviews and focus groups. The data obtained is categorized, analyzed and summed up by means of an analytical narrative form.

The outcome of the study shows that the interesting water management is as follows. Chien, Bang Wa and Bang Chun canals are the main waterways in the community. People can make use of these canals by fishing, transporting and irrigating the water into their rice fields. They are considered “public”, so the people have full freedom to make use of the water. The concrete right of the people living near the canals is that they are able to do fishing in the canals in front of their houses.

The canals are also used to provide water into dams, swamps, marshes, ditches and ponds, which are both linked to the main canals and isolated bodies of water in the rice fields. The various uses of the water consist of the irrigation into the rice fields, which help balance the water in the fields. The water is also kept for drinking and fishing. They put fishing equipment in the bodies of water and some bodies of water are used to grow some germinated rice plants.

The area is also converter to be grooved mounds for planting crops and raising animals and the water in the ditches is used for watering the plants. The people who can make use of the grooved mounds must be the ones who are related to the owners. The rice field dams are built by making small ditches to irrigate the water from the sources into the dams. The water in each dam belongs to the owner of the area, through which the water flows. The owners may join together to irrigate the water into the rice fields in case there is a shortage of rain water.

Dams, which were made up to reduce the flow of the water from the sources to the rice field, are now replaced by new systems of water supply.

Bang Wa Community is located on the Pakpanang River Plains, so the people know how to manage the water which is relevant to the conditions of the area. There are networks of linking water from the main sources to smaller bodies of water. The grooved mounds are used to plant economic crops to provide more income of the families.

In terms of water resources and their use, people in the area are able to make diverse uses of alternative bodies of water bringing about an easier access to them. These factors can improve the way of life of the people in Ban Bang Wa community. Therefore the related government agencies should help strengthens the potential of the area by merging the local wisdom with the new knowledge and technology.

Article Details

Section
Articles