ความรู้และการจัดการน้ำของชุมชนเชิงเขา : ศึกษาชุมชนบ้านวัดโคกโพธิ์สถิตย์ ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ชุมชนบ้านวัดโคกโพธิ์สถิตย์ ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร แหล่งน้ำสำคัญที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชีวิตของชาวบ้าน ประกอบด้วยแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ได้แก่ คลองท่าดี และคลองหยวด ห้วยที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยหินเจาะ ห้วยหินลาด ห้วยปุด และห้วยรอยตีน และบ่อน้ำซับแหล่งน้ำที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ได้แก่ บ่อน้ำตื้น และประปาภูเขา ทั้งนี้ในการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนสัมพันธ์กับวิถีการผลิตของชุมชนในแต่ละช่วงเวลา นอกจากการใช้ประโยชน์จากน้ำโดยตรงแล้วชาวบ้านยังได้รับประโยชน์จากทรัพยากรในแหล่งน้ำตามธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์ ทั้งนี้ประโยชน์ที่ชาวบ้านได้รับเกิดจากกระบวนการการจัดการของชาวบ้านเอง โดยวิธีการต่าง ๆ แตกต่างไปตามสภาพของแหล่งน้ำ ที่ตั้ง ตลอดจนฤดูกาล โดยการจัดการกับความรู้มีการถ่ายโอนความรู้และภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น จากประสบการณ์การเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่
แหล่งน้ำของชุมชนบ้านวัดโคกโพธิ์สถิตย์มีความหลากหลายเพราะสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ซึ่งเป็นที่ราบเชิงเขา ความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำของชุมชนจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลต่อความอยู่ดีกินดีของชาวบ้านในพื้นที่ปัจจุบันแม้ว่าปัญหาเกี่ยวกับน้ำยังมีอยู่น้อยในส่วนของพื้นที่ต้นน้ำ แต่แนวโน้นของปัญหาที่มีมากขึ้นเป็นสิ่งที่ชุมชนต้องเตรียมตัวรับมือ โดยการค้นหาความรู้แต่เดิมที่มีอยู่ในชุมชนมาผนวกกับความรู้ด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่ในหน่วยงานราชการ เพื่อที่ความรู้ทั้งสองลักษณะที่นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันจะนำไปสู่ความมั่นคงเรื่องน้ำในพื้นที่ต้นน้ำต่อไป
Knowledge and Water Management in Hill Slope Area of Ban Watkokphosathit Community, Tambon Kamlone, Amphoe Lansaka, Changwat Nakhon Si Thammarat
This study aims to study the knowledge and water management in Hill Slope Area of Ban Watkokphosathit community, Tambon Kamlone, Lansaka District, Nakhonsithammarat Province. This study is characterised as qualitative research based on documents and field surveys. Interviewing, observations, and focus group, discussion were carried out.
The result indicated that Ban Watkokphosathit community is located in fertile area. The main natural water sources influencing the villagers’ lively hood consisted of Tadi Canal, Yuad Canal, and other small creeks such as Hinjoe, Hinlad, Pood, Roiteen, Namsub Pond. The man-made water sources is composed of shallow ponds and hill water supply. The water management was utilized by community as people utilily, plantation and animal farms. Water consumption was depended on water sources and season. Water usage was transferred from generation to generation.
Geographically, the water resources of Ban Watkokphosathit community are diverse. The knowledge of the water management has been the indicator of the well-being of the people in the community. There were still problems about water sources and seemed to be more problems in the future. The people have to create their knowledges or new technologies provided from the government agencies to bring about the sustainable management.
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.