การปรับตัวและการจัดการวิถีการเกษตรแบบยั่งยืน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
ผลการศึกษาพบว่า สำหรับกะทูนเป็นชุมชนกลางหุบเขาที่มีอายุยาวนานประมาณ 300 ปี ในอดีตคนในพื้นที่ประกอบอาชีพหาของป่า ทำนา เลี้ยงสัตว์ และปลูกข้าวไร่ มีวิถีแบบเรียบง่ายดำรงชีวิตแบบธรรมชาติ มีพระพุทธศาสนาเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ในปี พ.ศ. 2531 เกิดอุกภัย กระแสน้ำป่าที่รุนแรง เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่สะเทือนใจแก่ชาวกะทูนเป็นอย่างมาก ชาวบ้านกะทูนที่รอดชีวิตต้องอพยพไปอยู่อาศัยในที่ต่าง ๆ และสร้างชุมชนใหม่ จากเหตุการณ์ดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงมีพระราชดำริให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อการบรรเทาอุทกภัยและฟื้นฟูพื้นที่ อ่างเก็บน้ำแห่งนี้มีทิวทัศน์ที่สวยงาม จากบทเรียนอุทกภัยคราวนั้น ส่งผล ให้ชุมชนและสังคมชาวกะทูนเริ่มพัฒนาและจัดการสู่ความทันสมัย ควบคู่ไปกับการใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง พลิกฟื้นวิกฤติดังกล่าว เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ทั้งการพัฒนาระบบนิเวศของชุมชนท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวบ้านให้ความสำคัญกับธรรมชาติและตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.