การวิจัยและพัฒนาระบบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์ กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์หมู่ 1 ตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด นครศรีธรรมราช

Main Article Content

มัลลิกา คงแก้ว

Abstract

การวิจัยและพัฒนาระบบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์ กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์หมู่ 1 ตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด นครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานและระบบการจัดทำบัญชีกลุ่มออมทรัพย์หมู่ 1 ตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบการจัดทำบัญชีกลุ่มออมทรัพย์ และนำไปสู่การขยายผลความรู้ให้เครือข่ายสามารถนำไปประยุกต์ใช้ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ประธานและสมาชิกในกลุ่มจำนวน 138 คน โดยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบกึ่งโครงสร้าง แบบไม่มีโครงสร้าง และการสังเกตแบบไม่เข้าร่วม ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์หมู่ 1 ตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกในพื้นที่โดยมีกิจกรรมกลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มแปรรูปพริก กลุ่มผูกผ้า ร้านค้าชุมชน และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มออมทรัพย์เป็นตัวขับเคลื่อนกิจกรรมทั้งหมดของกลุ่มมีการเก็บออมเพื่อใช้เป็นทุนในการดำเนินงาน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมการออมเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ มีวิธีการดำเนินงานโดยรับเงินออมจากสมาชิกตามระเบียบที่ทางกลุ่มกำหนดขึ้น และให้สมาชิกกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก แบ่งกิจกรรมทางการเงินออกเป็นการฝาก-ถอน การกู้ยืมดอกเบี้ยร้อยละ 1 การกู้ยืมดอกเบี้ยร้อยละ 2 สำหรับสมาชิก และการกู้ยืมดอกเบี้ยร้อยละ 2 สำหรับบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกของกลุ่ม การจดบันทึกยังขาดการเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลที่จดบันทึกไว้กับข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำงบการเงิน การออกแบบระบบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์เป็นการจดบันทึกข้อมูลทางการเงินตามกิจกรรมของกลุ่มให้สามารถนำข้อมูลไปจัดทำงบการเงินโดยบันทึกในสมุด 5 เล่ม ได้แก่ 1) สมุดเงินฝากสัจจะออมทรัพย์ 2) สมุดเงินกู้ร้อยละ 1; 3) สมุดเงินกู้ร้อยละ 2 สำหรับสมาชิก 4) สมุดเงินกู้ ร้อยละ 2 สำหรับที่ไม่ใช่สมาชิก 5 ) สมุดแยกประเภทย่อยสมาชิก จากนั้นจึงจัดเก็บจำนวนเงินรวมในสมุดแต่ละเล่มใช้ในการจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุลตามรูปแบบของกรมพัฒนาชุมชนต่อไป

 

Research and developing of saving account system : case study of saving group Moo 1 : Tambon Konhard, Amphoe Cha-uad, Nakhon Si Thammarat

This case study attempted to 1) to study operational procedure and saving account system of saving group Moo 1 : Tambon Konhard, Amphoe Cha-uad, Nakhon Si Thammarat and 2) to develop the model of doing saving account of saving group and to expand this knowledge to network for application and implemention. The result found that the operational procedure of saving group Moo 1 : Tambon Konhard, Amphoe Cha-uad, Nakhon Si Thammarat comprises processed chilies group, binding clothes art group, community shop and sufficiency economy learning center group. The organizing of the saving group has the objective to enhance economy of community and to promote saving for career. The steps taken were to receive saving money from members according to the saving group’s regulations and provide loans with included low interest rate; to help members. The financial activities: deposit-withdrawal, loaning in the 1% interest and interest and 2% interest for members and loan with 2% interest for non members. However, it should be noted that, the saving group lacks connection between taking notes and the information for making financial statements. The design for saving account system is to taking record as financial information according to group’s activities to be able to bring these information to operate financial statements by recording in 5 books: 1) Sat-Cha saving deposit account, 2) Loan account with 1% interest, 3) Loan account with 2% interest (members), 4) Loan account with 2% interest (non members) and 5) Subcategorized members accounts. After that, the saving group will collect the amount of each account for operating the income statement and balance sheet according to format of Community Development .

Article Details

Section
Articles