การจัดการความรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร ในสำนักงานเขตภาษีเจริญ

Main Article Content

นิรันธ์ หงษาวรรณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร ในสำนักงานเขตภาษีเจริญ และเปรียบเทียบการจัดการความรู้ของโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของครู จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นครูสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ปีการศึกษา 2553 จำนวน 203 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t – test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (Anova)

ผลการวิจัย พบว่า การจัดการความรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครูสังกัดกรุงเทพมหานครในสำนักงานเขตภาษีเจริญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการสร้างและการแสวงหาความรู้อยู่ลำดับแรก รองลงมา คือ การเรียนรู้ การค้นหาความรู้ การเข้าถึงความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ส่วนด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้อยู่ลำดับสุดท้ายการเปรียบเทียบการจัดการความรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู จำแนกตามเพศพบว่า ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการเปรียบเทียบการจัดการความรู้ของโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน พบว่า ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

 

Knowledge Management of Elementary Schools According to the Teachers, Opinions, Bangkok Metropolitan Administration, Phasicharoen Office

The objectives of this research were to study the knowledge management of elementary schools under Bangkok Metropolitan Administration, Phasicharoen Office according to teachers’ opinions and to compare the knowledge management of elementary schools according to teachers’ opinions classified by gender, education degree and work – experiences. The sample used in the research were 203 teachers in education year 2553. The research instrument was a 5 level rating scale with reliability of 0.98 The statistics used in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation and t – test and ANOVA were used in hypothesis testing.

The research results indicated that the knowledge management of elementary schools under Bangkok Metropolitan Administration, Phasicharoen office according to teachers’ opinions as a whole was at high level. Considering by aspects they were at high level and could be ranked from highest to lowest as knowledge construction and searching, learning, knowledge investigation system, knowledge access, knowledge management, integrated and refining of knowledge and share of knowledge. The comparison of knowledge management of elementary schools according to teachers’ opinions classified by gender was not different, except integrated and refining of knowledge management according to teachers’ opinion in education degree and work experiences were not different as a whole.

Article Details

Section
Articles