การติดตามผลการบริการวิชาการ การรู้เท่าทันสื่อของเด็กในพื้นที่เทศบาลตำบลพรหมโลก อ. พรหมคีรี จ. นครศรีธรรมราช

Main Article Content

ชนิดา รอดหยู่

Abstract

การวิจัยเพื่อติดตามผลการบริการวิชาการ เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ เป็นผลสืบเนื่องจากการบูรณาการบทเรียนในรายวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน ในหัวข้อการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) กับการบริการวิชาการ เรื่องการรู้เท่าทันสื่อของคณะวิทยาการจัดการ เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ติดตามและประเมินผลการลงพื้นที่บริการวิชาการโครงการอบรมการรู้เท่าทันสื่อ ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชนำผลการวิจัยมาพัฒนาการให้บริการวิชาการในครั้งต่อไปและเพื่อดำเนินการตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการให้บริการวิชาการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เสริมสร้างการเรียนรู้และการแก้ปัญหาชุมชนทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)

ผลการวิจัยสรุปว่า กลุ่มตัวอย่างไม่ได้เปิดรับสื่ออย่างเหมาะสม เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงคำแนะนำ หรือการจัดเรตติ้งก่อนเข้ารายการ สาเหตุพื้นฐานตามแนวคิดการเปิดรับสื่อ (Media Exposure) ที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับละครเรื่อง “ดอกส้มสีทอง” นั้น สรุปได้ว่าคือ ความอยากรู้อยากเห็น เพราะสังคมไทยสร้าง “กระแส” ให้กับละครเรื่องนี้ ไม่ว่าจะในด้านบวกหรือด้านลบ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น และต้องการติดตามจากผู้รับสารเพิ่มมากขึ้นและการศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อของกลุ่มพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เท่าทันสื่อในระดับที่2คือ ระดับความเข้าใจ (Comprehensive) หมายถึง สามารถรับรู้และเข้าใจในเนื้อหาของสื่อ รู้ลักษณะของสื่อตามบทบาทหน้าที่ ของสื่อในระบบสังคม ยอมรับแบบแผนการผลิตตามลักษณะทางวิชาชีพสื่อ รู้ความหมายตรงของสื่อ (Denotation) ที่แสดงให้เห็นชัดเจน

 

MonitoringAcademic Serviceabout ‘ Media Literacy’ofChildrenin thePhrommalokMunicipal, PhromKhiri District, Nakhon Si Thammarat Province

This research was integrated among lessons learn in the university, academic service in BE.2554 and research study. This is the qualitative research, using in-depth interviews.This research was aimed at studying how the trained students applied the knowledge about media literacy in their daily lives. The research found that : The respondents did not have appropriate media literacy become they did not consider about rating system. The reason for media exposure of the drama “Doksomseethong” was curiosity.

This was because this drama was the “Talk of the Town” in Thai society at that time. The media literacy in terms was categorized into 4 levels of audience’ s cognitive. It was found that the respondents were ranked in the second level ; namely, the comprehensive level. It means that they can recognize and understand in media content, know character of the role media, media function in society system. Besides, the respondents accept the traditional of production in media profession. They know the denotation of media that clearly express.

Article Details

Section
Articles