TOTAL PHENOLIC CONTENT, ANTIOXIDANT AND ANTIMICROBIAL ACTIVITIES FROM 13 THAI TRADITIONAL PLANTS
Main Article Content
Abstract
Water and ethanol (EtOH) crude extracts from 13 Thai traditional plants were screened for their total phenolic content, antioxidant and antibacterial properties. The highest total phenolic levels and antioxidant activity of water crude extracts were detected in Syzygium cumini (L.) Skeels at 358.250 ± 0.014 mgGAE/gdw and 332.425 ± 0.21 mM Trolox , respectively. Piper betle Linn. EtOH crude extracts were found the highest total phenolic contents 474.083 ± 0.005 mgGAE/gdw and Anacardirm occidentale Linn. 411.916 ± 0.05 mM Trolox as the highest antioxidant activity in EtOH extracts. Almost plants in this study demonstrated the correlation between phenolic content and antioxidant capacity but some were no correlation between them. The antimicrobial activity was found in 7 species of water crude extracts and 2 species of EtOH crude extracts. Syzygium cumini (L.) Skeels water crude extract showed the highest inhibition zone to Staphylococcus aureus and Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) at the concentration of 100 mg/ml. The highest inhibition zone of EtOH crude extracts was found in Piper betle Linn. (100 mg/ml) to S. aureus, MRSA, Escherichai coli and Pseudomonas aeruginosa. Minimal inhibitory concentration (MIC) and Minimal bacteriocidal concentration (MBC) of Syzygium cumini (L.) Skeels water crude extracts was found at 6.25 and 12.5 mg/ml to S. aureus and MRSA, respectively. Piper betle Linn. EtOH crude extracts was found at 12.5 mg/ml for MIC and MBC to S. aureus and MRSA.
ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด สารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพ ของสารสกัดสมุนไพรไทย 13 ชนิด
จากการศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด สารต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดสมุนไพรไทย 13 ชนิดด้วยน้ำและเอทานอล พบว่าสารสกัดยอดหว้าที่สกัดด้วยน้ำ มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงสุด เท่ากับ 358.250 ± 0.014 mgGAE/gdw และ 332.425 ± 0.21 mM Trolox ตามลำดับ ในขณะที่สารสกัดใบพลูที่สกัดด้วยเอทานอล มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุดเท่ากับ 474.083 ± 0.005 mgGAE/gdw และยอดยาร่วง (มะม่วงหิมพานต์) ที่สกัดด้วยเอทานอล มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงสุด เท่ากับ 411.916 ± 0.05 mM Trolox นอกจากนี้ยังพบว่าในสารสกัดส่วนใหญ่จะมีปริมาณฟีนอลิกและสารต้านอนุมูลอิสระสัมพันธ์กัน สารสกัดที่สกัดด้วยน้ำ 7 ชนิด และสารสกัดที่สกัดด้วยเอทานอล 2 ชนิดแสดงฤทธิ์ต้านจุลชีพ โดยสารสกัดยอดหว้าที่สกัดด้วยน้ำสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus และ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) ได้ดีที่สุดที่ระดับความเข้มข้น 100 mg/ml สารสกัดในพลูที่สกัดด้วยเอทานอล (100 mg/ml) สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus, MRSA, Escherichai coli และ Pseudomonas aeruginosa ได้ เมื่อนำมาศึกษาหาระดับความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดสมุนไพรที่สามารถยับยั้งและทำลายจุลชีพ (Minimal inhibitory concentration : MIC และ Minimal bacteriocidal concentration : MBC) พบว่าสารสกัดยอดหว้าที่สกัดด้วยน้ำมีค่า MIC เท่ากับ 6.25 mg/ml และมีค่า MBC เท่ากับ 12.5 mg/ml ในการยับยั้งและทำลายเชื้อ S. aureus และ MRSA ตามลำดับ สารสกัดใบพลูที่สกัดด้วยเอทานอล มีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 12.5 mg/ml ในการยับยั้งและทำลายเชื้อ S. aureus และ MRSA
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.