นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านสำนักใหม่ ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ ษารักษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านสำนักใหม่ ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านสำนักใหม่ ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านสำนักใหม่ ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านสำนักใหม่ ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 63.6 มีตำแหน่งเป็นครูคิดเป็นร้อยละ 68.2 มีระยะเวลาและประสบการณ์ที่ดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลา 20 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 59.1 มีวุฒิทางการศึกษาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 81.3 มีอายุระหว่าง 50 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 45.5 สภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์สภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง 5 ด้าน 1) ด้านการกระจายอำนาจ 2) ด้านการมีส่วนร่วม 3) ด้านการบริหารตนเอง 4) ด้านการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน 5) ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล โดยรวมมีสภาพการบริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก

แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีอยู่ด้วยกัน 5 ด้าน คือ 1) ด้านการกระจายอำนาจ แนวทางในการพัฒนา สร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ทุกโรงเรียนเข้าใจ และควรมีโรงเรียนต้นแบบที่จัดการศึกษาทั้ง 3 ระบบให้โรงเรียนที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ 2) ด้านการมีส่วนร่วม แนวทางในการพัฒนา รัฐควรใช้สื่อประชาสัมพันธ์จูงใจให้ผู้ปกครองเข้าใจการพัฒนาการศึกษาแบบชุมชนมีส่วนร่วมให้มากขึ้น 3) ด้านการบริหารตนเอง แนวทางในการพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานควรเร่งฝึกอบรมหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ครอบคลุมครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน 4) ด้านการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน แนวทางในการพัฒนา รัฐโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากกว่าที่ผ่านมา 5) ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล แนวทางในการพัฒนา ควรเร่งพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีเจตคติที่ดี และมีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบและถ่วงดุล

 

Innovative Management of Basic Education in Bansamnakmai School, Tambon khunthale, Amphoe lansaka, Nakhon Si Thammarat

The purpose of this study was to 1) study the management of basic education in Bansamnakmai School, Tambon Khunthale, Amphoe Lansaka, Nakhon Si Thammarat; 2) study the problems of the management of basic education in Bansamnakmai School, Tambon Khunthale, Amphoe Lansaka, Nakhon Si Thammarat; 3) study the development guidelines of basic education in Bansamnakmai School, Tambon Khunthale, Amphoe Lansaka, Nakhon Si Thammarat. The data were collected by using questionnaires as a tool to study problems and develop management guidelines for basic education of Bansamnakmai School, Tambon Khunthale, Amphoe Lansaka, Nakhon Si Thammarat. The statistical analysis of data were percentage, mean, standard deviation.

The results showed that most respondents were female. (63.6 percent), they were teachers (68.2 percent), with teaching experience of 20 years and over (59.1 percent), there are bachelor’s degrees (81.3 percent), aged between 50 years and over (45.5 percent), the analysis of the state of administration of basic education included 5 aspects: 1) the decentralization; 2) the participation; 3) self management; 4) giving the power of education management to the public; 5) monitoring and balancing overall, the condition of school administration was at a high level.

The guidelines for management development of basic education included 5 areas: 1) For the decentralization: an understanding of non-formal education should be created in all school. There should be a model school which manage the three understand systems for school interested in learning to study. 2) For the participation: the government should use communication media to encourage the parents to understand more the educational development by community-involvement. 3) For the self-management the office Basic Education should accelerate transformational leadership training courses to cover all teachers and educational personnel. 4) For giving the power of education management to the public: The Basic Education Committee should accelerate a clear and concrete understanding of the power of education management back to the community and local people. 5) For the check and balance: the Basic Education Committee should accelerate the development of government personnel to have positive attitudes and being able to check and balance the power system.

Article Details

Section
Articles