การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้หลักการฟิสิกส์จากของเล่นพื้นบ้าน โดยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
Abstract
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน 40 คน จากโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้หลักการฟิสิกส์จากของเล่นพื้นบ้าน โดยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ฟิสิกส์) เรื่อง แรง การเคลื่อนที่ และพลังงาน และ(3) แบบสอบถามความความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้หลักการฟิสิกส์จากของเล่นของพื้นบ้าน โดยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้หลักการฟิสิกส์จากของเล่นพื้นบ้าน โดยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 80.89/81.39 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน(ฟิสิกส์) ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้หลักการฟิสิกส์จากของเล่นพื้นบ้าน โดยวิธีสืบเสาะหาความรู้อยู่ในระดับมาก
The Development of Supporting Activity Learning Experience : Physics Principle Learning from Folk Toy Using Inquiry method for Matthayomsuksa 4
The purposes of this experimental research were to find out the efficiency of a support activity learning experience created and to compare the learning achievement in fundamental science subject (physics), to find student’s satisfaction before and after studying the development of a support activity learning experience: physics principle learning from folk toy using inquiry method for Mattayomsuksa 4
The sample for this research consisted of 40 Mattayomsuksa 4 students. They were selected by simple random sampling from students at Phrom Khiri Pittayachom School, Phrom Khiri District, Nakhon Si Thammarat Province during the second semester of the academic year 2010.
The results of this research had shown as follows :
1. The development of a support activity learning experience: physics principle learning from folk toy using inquiry method for Mattayomsuksa 4 students had show at 80.89/81.39 which was more effective than the standard at 75/75
2. The learning achievement in fundamental science subject (physics) of students after studying learning the development of supporting activity learning experience higher than before studying at the .05 level.
3. The student’s satisfaction with the development of supporting activity learning experience was at high agreement level.
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.