แนวทางการประชาสัมพันธ์และการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น : กรณีศึกษาเครื่องถมนคร

Main Article Content

สุชาต วิสุทธิพันธุ์

Abstract

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ใช้ทั้งข้อมูลภาคสนามและข้อมูลทุติยภูมิจากนิตยสาร วารสาร สารานุกรม ตำราและงานวิจัยอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์ตามหลักของการวิจัย โดยหยิบยกเอางานศิลปหัตถกรรมเครื่องถมนคร ด้วยการศึกษารูปแบบ และราคาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความต้องการและสภาพทางธุรกิจ ตลอดทั้งศึกษาปัจจัยพื้นฐานทางด้านการประชาสัมพันธ์ของตลาดเครื่องถมในปัจจุบัน นำผลที่ได้จากงานวิจัยมาสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับสภาพสังคม มีคุณภาพ และมีผลต่อการเลือกซื้ออย่างแท้จริง

ในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือแบบสอบถามกับผู้เกี่ยวข้องสี่กลุ่ม คือ กลุ่มนักวิชาการ จำนวน 50 ตัวอย่าง กลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้สนใจทั่วไป จำนวน 400 ตัวอย่าง กลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 21 ตัวอย่าง ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และได้รับการศึกษาตั้งแต่ระดับต่ำกว่าปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก โดยวิธีเลือกแบบบังเอิญ (Accident selection) เพื่อศึกษา สอบถาม สำรวจทัศนคติเกี่ยวกับรูปแบบ และแนวทางการประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในปัจจุบันเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาผู้ผลิตสินค้าเครื่องถมนครในอนาคต

จากผลการวิจัยพบว่า งานเครื่องถมนครนั้นเป็นสินค้าที่มีประวัติอันยาวนาน เป็นที่ภาคภูมิใจและเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นจึงไม่มีคู่แข่ง ทำให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายไม่เห็นถึงความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ และไม่มีการประชาสัมพันธ์ที่มีรูปธรรมชัดเจน ตลอดทั้งไม่เห็นความสำคัญของช่องทางการจัดจำหน่าย (สถานที่จำหน่าย) ทำให้ค่านิยมของประชาชนที่มีต่อเครื่องถมนครในอดีตจึงค่อย ๆ ลดลงไปดังที่เห็นในปัจจุบัน

 

Methods of Public Relations and Mass Media of Local Handicrafts : Case Study of Nakhon Nielloware.

This research is a field research which using second data from magazine, book and related research. This research focused on Nakhon Si Thammarat’s niellowware and aimed to study the needs of consumers with respect to their attitude, price, the present market channel and the fundamentals of public relations marketing to supply and demand.

The sample of the study was divided into 4 groups by accidental selection. 50 the educators, 400 the handicraft consumers and related people, 21 the handicrafts entrepreneurs were selected from Nakhon Si Thammarat province as subjects. Each subject was over 20 years old and had a lower bachelor degree until a doctor degree to be in the study. Data was gathered by questionnaires. The research questions were examined through the consumers’ attitude of pattern and the present market channel and the fundamentals of public relations marketing to supply and demand in Nakhon Si Thammarat. Data analysis was carried out by content analysis by percentage.

The results of this research found that the Nielloware has been used for household appliances with a long history. Nakhon Nielloware has its own identity and is difficult to copy; as a result, there was no competition. For that reason, the manufacturers and suppliers do not emphasis of promotion and present distribution channel. This is the main point that the values of the people on the Neilloware reduced.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)