การศึกษาวิจัยและพัฒนาการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง และเอื้อต่อ การแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษากลุ่มสตรีสหกรณ์หัตถกรรมดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยและพัฒนาการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง และเอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษา: กลุ่มสตรีสหกรณ์หัตถกรรมดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนบริบทกลุ่ม ระบบการจัดการกลุ่ม และพัฒนาระบบการจัดการกลุ่มสตรีสหกรณ์หัตถกรรมดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้มีความร่วมมือกันในลักษณะโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทำงานกันเป็นกลุ่ม (Cluster) ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลการศึกษาพบว่า การรวมตัวกันกลุ่มสตรีสหกรณ์หัตถกรรมดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์อำเภอพิปูนมีความประสงค์เพื่อที่จะสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านและเป็นอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน หลังจากนั้นได้มีการรวมกลุ่มโดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มสตรีสหกรณ์” โดยกลุ่มมีการดำเนินงานหลัก ๆ 4 กิจกรรม ได้แก่ การรวบรวมผลิตภัณฑ์จากสมาชิกกลุ่มเพื่อนำออกจำหน่าย การรับฝากเงินจากสมาชิก การให้เงินกู้แก่สมาชิก และการจำหน่ายอุปกรณ์ให้กับสมาชิกด้านการบริหารจัดการกลุ่ม กลุ่มมีคณะกรรมการและโครงสร้างในการดำเนินงานที่ชัดเจน
นอกจากนี้กลุ่มยังมีกลุ่มเครือข่ายผลิตภัณฑ์อีกด้วย สำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ได้แก่ การแปรรูปใบยางพาราและการทำผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์นับว่าเป็นงานที่อาศัยฝีมือผนวกกับภูมิปัญญาเข้าด้วยกันอย่างลงตัวจนกระทั่งเกิดเป็นงานศิลปะประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์จนกลายเป็น “ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น” จากการวิจัยพบว่ากลุ่มยังมีปัญหาด้านเงินทุนไม่เพียงพอในการจัดซื้อวัตถุดิบ สมาชิกกลุ่มยังไม่มีความชำนาญในการขาย การจัดทำบัญชีของกลุ่มยังไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มยังขาดบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ขาดเครื่องจักรในการทำการผลิตสินค้าใหม่ ๆ และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มยังไม่ทั่วถึง เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวกลุ่มมีแนวคิดในการที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนากลุ่มในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาด้านการจัดทำบัญชีของกลุ่มที่ได้มาตรฐาน พัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ ๆ ให้มีจิตสำนึกและความร่วมมือในการบริหารจัดการกลุ่ม เป็นต้น ซึ่งบางปัญหาก็ได้รับการแก้ไขและพัฒนาไปแล้วในระดับหนึ่ง
ประเด็นข้อเสนอแนะที่สำคัญมีดังนี้ กลุ่มควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และวางแผนการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม สร้างเอกลักษณ์ในตัวสินค้าให้มีลักษณะเฉพาะและโดดเด่นแตกต่างไปจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน นอกจากนี้การเข้ามาส่งเสริมหรือให้การสนับสนุนกลุ่มของหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับระบบการบริหารจัดการกลุ่ม และการพัฒนาอย่างบูรณาการควบคู่ไปกับการสนับสนุนทางด้านการตลาด เพื่อให้กลุ่มเกิดการความเข้มแข็งและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
Research and Development of Small and Micro Community Enterprise Management for Self-Reliance and Support for Integrated Poverty Solving in Nakhorn Si Thammarat : The Case Study of Artificial Flower Handicraft Made from Rubber Leaves by Women Co-operative, Tumbon Yang Kom, Amphoe Pipoon, Nakhon Si Thammarat.
This research and development of small and micro community enterprise management for self-reliance and support for integrated poverty solving in Nakhorn Si Thammarat : The case study of artificial flower handicraft made from rubber leaves by women co-operative, Tumbon Yang Kom, Amphoe Pipoon, Nakhon Si Thammarat attempted to study and develop the system of the management of women co-operative by using supply chain and working with product clusters in Nakhon Si Thammarat.
The findings found that the gathering of artificial flower handicraft made from rubber leaves by women co-operative, Tumbon Yang Kom, Amphoe Pipoon, Nakhon Si Thammarat originated from co-operative clerks, who would like to create income for local people. Later on, women agriculturists had gathered together in the name of “women co-operative” The four main activities are selling the members’ products, depositing money from members, providing loan, and selling equipments to the members. For the group management, the cooperative had committees and clear organization chart. The group also had products networking. Their products consisted of rubber leaves transforming and artificial flower handicraft made from rubber leaves created by local wisdom and become well-known as“community and local products”.
However, the problems could be cited as lack of fund for buying some supplies, lack of selling skills, lack of accounting management and packaging, insufficiency of machine to develop new products, and inadequate product promotion. From these problems, the group had ideas on how to solve the problems and to develop, such as standardized account, product promotion, and design development. Moreover, the Younger generation was taught to possess leadership with strong commitment and cooperation in group management. And some of the problems had been resolved to some certain degrees.
The recommendation are listed as the group should develop products in different ways, the group should have marketing plan, they should create product identity and differentiate themselves from others. In addition, when there are some supports from government or other institutions, they should support the management system and integrated development as well as marketing. Finally, the group will be strengthened leading to strengthened development.
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.