ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Main Article Content

สุนันทา เลาหนันทน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนใน 7 ด้านตามเกณฑ์ สกอ. ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านผู้เรียน ด้านสื่อการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษา ด้านห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่น ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านปัจจัยเกื้อหนุนโดยรวมและในแต่ละด้าน จำแนกตามเพศ ชั้นปีที่ศึกษา คณะ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ซึ่งศึกษาใน 4 คณะ ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียน 2/2552 ขนาดกลุ่มตัวอย่าง กำหนดตามตารางยามาเน่ (Yamane) โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวนทั้งสิ้น 566 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่

ผลการวิจัยพบว่า

1. นิสิตมีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยรวมว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก และในรายด้านพบว่า ด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านนิสิตผู้เรียน ด้านห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่น และด้านการวัดผลและประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนด้านสื่อการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษา และด้านปัจจัยเกื้อหนุนมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง

2. นิสิตชายและนิสิตหญิงมีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านนิสิตผู้เรียน และด้านสื่อการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษา ส่วนด้านห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่น ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านปัจจัยเกื้อหนุนนั้นไม่พบความแตกต่าง

3. นิสิตที่ศึกษาในชั้นปีที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านนิสิตผู้เรียน ด้านสื่อการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษา ด้านห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่น และด้านปัจจัยเกื้อหนุน ส่วนอีก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน และด้านการวัดและประเมินผล ไม่พบความแตกต่าง

4. นิสิตที่ศึกษาในคณะที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความแตกต่างกันใน 3 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านสื่อการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษา และด้านปัจจัยเกื้อหนุน ส่วนอีก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านนิสิตผู้เรียน ด้านห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่นและด้านการวัดและประเมินผล ไม่พบความแตกต่าง

5. นิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่พบความแตกต่างรายด้าน 2 ด้านคือ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านปัจจัยเกื้อหนุน นอกนั้นอีก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านนิสิตผู้เรียน ด้านสื่อการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษา และด้านห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่น ไม่พบความแตกต่าง

 

Students’ Opinions towards Educational Management Factors at Bansomdejchaopraya Rajabhat University.

The purposes of this research were to explore and compare the opinions of the students towards educational management factors at Ban Somdej Chaopraya Rajabhat University in 7 aspects as stipulated by the Office of Higher Education Commission; namely, curriculum, instructors, students, educational media, library and other educational resources, measurement and evaluation, and supporting factors in overall and each aspect classified by gender, class level, faculty, and academic achievement. The samples consisted of 566 second to fourth year and upper class students enrolling in the second semester of the 2009 academic year. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, ANOVA and Scheffe’s method.

The research findings were as follows :

1. The students perceived the educational management factors in overall aspect at a high level while they rated curriculum, instructors, students, library and other educational resources, and measurement and evaluation a high level, but viewed educational media, and supporting factors at an average level.

2. There was a statistical significant difference at the 0.05 level between the opinions of male and female students towards overall aspect of educational management factors. As for each aspect, a statistical significant difference at the 0.05 level was found in four areas ; namely, curriculum, instructors, students, and educational media while no significant difference was found in library and other educational resources, measurement and evaluation, and supporting factors.

3. There was a statistical significant difference at the 0.05 level among the opinions of students with different class levels towards overall aspect of educational management factors. As for each aspect, a statistical significant difference at the 0.05 level was found in five areas ; namely, curriculum, students, educational media and library and other educational resources, and supporting factors while no significant difference was found in instructors, measurement and evaluation.

4. There was a statistically significant difference at the 0.05 level among the opinions of students from different faculties towards overall aspect of educational management factors. As for each aspect, a statistically significant difference at the 0.05 level was found in three aspects; namely, curriculum, educational and technical media, and supporting factors while no significant difference was found in four aspects; namely, instructors, students, library and other educational resources, and measurement and evaluation.

5. There was no statistically significant difference among the opinions of students with different academic achievement towards overall aspect of educational management factors. As for each aspect, a statistically significant difference at the 0.05 level was found in two aspects; namely, measurement and evaluation, and supporting factors while no significant difference was found in five aspects; namely, curriculum, instructors, students, educational and technical media, and library and other educational resources.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)