ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนและการให้บริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

รอยพิมพ์ใจ เพชรกุล

Abstract

การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนและการให้บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนและการให้บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 8,387 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 979 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.95 ใช้วิธีการสุ่มแบบ Multistage sampling เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม

ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านการจัดหลักสูตร และด้านการเรียนการสอนส่วนความพึงพอใจต่อการให้บริการ คือ การให้บริการวิชาการอยู่ในระดับมาก และการให้บริการทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน จำแนกตามเพศชั้นเรียน และสังกัดคณะ โดยภาพรวมระดับความพึงพอใจไม่มีความแตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการวิชาการและบริการทั่วไป จำแนกตามเพศและสังกัดคณะ พบว่า มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามชั้นเรียน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน

 

The Students’ Satisfaction towards the Instruction and Services of Nakhon Si Thammarat Rajabhat University

The purposes of this research were to study and compare students’ satisfaction towards the instruction and services of Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. The population included 8,387 bachelor’s degree students. Samples were 997 students. The questionnaires were administered to collect data.

The findings were as follows : The students’ satisfaction towards the instruction was at a high level. The average means of satisfaction from high to low were listed as instruction, the curriculum management and learning and teaching management. The satisfaction towards academic service was rated at a high level, while general service was at a moderate level. The comparison of students’ satisfaction towards learning and teaching management classified by gender and faculties showed that there was no difference. The comparison of students’ satisfaction towards the academic and general service rendering classified by gender and faculties showed that there was significant difference, but there was no difference when classified by classes.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)