การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรื่องแรง วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา : โรงเรียนพระพรหมพิทยานุสรณ์

Main Article Content

ประณีต เจริญวาศน์
ศุภวรรณ พรหมเพรา
เอมอร สิทธิรักษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรื่องแรง วิชาวิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนกับหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระพรหมพิทยานุสรณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ห้อง ม.3/1 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรื่องแรง วิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 แผนแบบทดสอบท้ายบทเรียน จำนวน 40 ข้อ มีความเชื่อมั่น 0.83 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีความเชื่อมั่น 0.78 และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ มีความเชื่อมั่น 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 74.75/74.50 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนกับหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแตกต่างกัน (3) นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ในระดับมาก

 

Learning Activities Management on Learner Centered Approach of Force’s topic in science : Secondary school level III, Praprompittayanusorn School

The purpose of this study were to develop learning activities model on Learner Centered Approach (LCA) of Force’s topic in science to meet the efficiency criteria 70/70, to compare an achievement of students before and after learning by using LCA’s activities, and to investigate the satisfaction of students by using LCA’s activities. Samples derived from students in class 3/1, Praprompittayanusorn school in the first semester of the academic year 2010, 40 samples were selected purposively. Material for this study consist of 8 lesson plans on LCA of Force’s topic in science, 40 after lesson’s questions with confidence 0.83, 30 questions of achievement test with confidence 0.78, and 20 questions in satisfaction questionnaire with confidence 0.88. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance (One-Way ANOVA).

The results indicated that (1) The learning activities model on LCA is significant. The Efficiency were 74.75/74.50 (2) An achievement of students after learning by using LCA’s activities significantly different before learning. (3) The used of learning activities on LCA have made a high level of satisfaction of learners.

Article Details

Section
Articles