พัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล

Main Article Content

ปิยตา สุนทร ปิยะพันธ์

Abstract

การวิจัยปฏิบัติการ (Operations Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการประชาสัมพันธ์ ปัญหาและความต้องการในการประชาสัมพันธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งแนวทางการพัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมสามารถนำมาใช้อย่างมีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 31 คน เป็นกลุ่มทดลอง และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 31 คน เป็นกลุ่มควบคุม มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนและหลังกิจกรรมแทรกแซง ประกอบด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการ การฝึกทักษะการศึกษาดูงาน การบริหารจัดการหอกระจายข่าวหมู่บ้าน และการจัดทำแผนการประชาสัมพันธ์องค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนการนิเทศติดตามประเมินผล

ผลการวิจัยพบว่าปัญหาในการประชาสัมพันธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลคือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ขาดความรู้และทักษะในการประชาสัมพันธ์ ประชาชนขาดความสนใจในการรับรู้ข่าวสารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการส่งเสริมสนับสนุน และสื่อประชาสัมพันธ์ดำเนินการในรูปของธุรกิจมากเกินไปนอกจากนี้ยังพบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล มีความต้องการให้มีการพัฒนาความรู้และทักษะการประชาสัมพันธ์ให้กับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีการจัดทำแผนงานโครงการประชาสัมพันธ์ สำหรับการจัดกิจกรรมแทรกแซงได้ทำให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้และทัศนคติในการประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น เพื่อเผยแพร่ข่าวสารตรงกับความต้องการของประชาชน ทำให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับฟังข่าวสารและเกิดความร่วมมือระหว่างประชาชนกับองค์การบริหารส่วนตำบลมากขึ้น

 

Development of Public Relations System for Sub-District Administration Organizations

This operations research studied the problems and needs for public relations of Tambon Administration. An attempt was made to develop an effective guideline for improving public relations system.

Tumbon was treated as the experimental group, while Khunthalay as the control. Both Tumbons were in Muang District of Makhamtia. All off the 31 members of the experimental group, and all of the 31 members of the control group were purposively selected.

The interventions which were given to the experimental group consisted of the following: a workshop training on public relations skills improvement, an organized study tour for the member, a revamped administrative system, an organized meeting for creating a public relations plan for Tumbon Administration Organization, and an installation of a monitoring and evaluation system.

The results from the analyze of data indicated that the members of the Tumbon Admistration did not possess enough knowledge and skill for public relations. In addition, the population in the catchments area of the Tambon Administrations Organization did not show enough interest in receiving the information disseminated by the Tumbon Administration Organization. This was attributed to the lack of supports from the responsible agencies, and to the ways in which relations programs were run for and over – emphasized on profits making. This research also showed that, due to an awareness of the problems, the members of the Tambon Administration had a strong desire for improving their knowledge on and skills for public relations. Moreover, these members wanted to have a clear organized plan for scheduling public relations programs

The interventions developed in this study did improve the levels of knowledge on and degrees of favorableness toward more systematic public regions strategies. This improvement resulted in stronger monument potential for dissemination of information that was of particular interest to the public among the members of Makhamtia Tumbon Administration, which eventually resulted in more satisfaction and cooptation between the Tumbon Administration Organization and the public.

Article Details

Section
Articles