การบริหารจัดการเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของอาชีวศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

นภัสกร ชาญณรงค์

Abstract

ผลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และจัดทำแนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 55 คน ครูผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาของวิทยาลัยจำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น 175 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 48 คน ผู้เกี่ยวข้องงานด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาของวิทยาลัย จำนวน 90 คน รวมทั้งสิ้น 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน 1) สภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) สภาพและปัญหาการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราชและ 3) ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น และแนวทางในการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแบบสอบถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธีสังเคราะห์จากการระดมความคิดเห็น (Focus Group) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

สภาพการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพการบริหารจัดการที่มีการดำเนินการจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการปฏิบัติการบริหารจัดการ ด้านการปรับปรุงแก้ไขการบริหารจัดการ ด้านการวางแผนการบริหารจัดการ และด้านการตรวจสอบการบริหารจัดการ

ปัญหาการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการบริหารจัดการที่มีการดำเนินการจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการปฏิบัติการบริหารจัดการ ด้านการวางแผนการบริหารจัดการ ด้านการตรวจสอบการบริหารจัดการและด้านการปรับปรุงแก้ไขการบริหารจัดการ

แนวการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านการวางแผนการบริหารจัดการ โดยการสำรวจสภาพ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศ พันธกิจ ในการบริการจัดการเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการปฏิบัติการบริหารจัดการ มีจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่บุคลากรในรูปแบบการประชุม การบรรยาย การสาธิตเพื่อพัฒนาความรู้ให้แก่บุคลากร และนำความรู้ที่ได้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนทุกสาขาวิชา ด้านการตรวจสอบการบริหารจัดการ มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจน และให้มีการดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง ด้านการปรับปรุงแก้ไขการบริหารจัดการ มีการนำปัญหาจากการตรวจสอบมาวางแผน และดำเนินงานปฏิบัติตามแผนอีกครั้ง เพื่อขจัดปัญหาให้หมดไป

 

The Educational Technology Administration for Knowledge Management of Nakhon Si Thammarat Vocational College

The purposes of this research were to study the general condition and appropriated of The Administrational Education Technology to Develop Knowledge Management of Nakhon Si Thammarat Vocational College. The research population consisted of 55 administrators and 120 teachers of Nakhon Si Thammarat Vocational College. The sampling group consisted of 48 administrators and 90 staffs. The research tools are 3 opened end questionnaires; 1)general information of participants 2)the developing of knowledge management problems in Administrational Education Technology and 3) the problem solving and suggestions. The data analysis by means and standard deviations.

The result found that;

The general of Administrational Education Technology to Develop Knowledge Management of Nakhon Si Thammarat Vocational College are in middle level. The Level of Knowledge Managements are planning, doing, checking and follow by action.

The developing of knowledge management problems in Administrational Education Technology are in the middle level. The level of Knowledge Management Problems are planning, Doing, Checking and follow by action.

The summary suggestion for The Administrational Education Technology to Develop Knowledge Management of Nakhon Si Thammarat Vocational College were; Planning: Should set the policy, survey the general condition and problem and PDCA committee for data gathering of the objective and goals. Doing: The administrator should train the staffs to entitle their knowledge and implement for learning process by using the educational technology as the aids instruments. Check: The administrators should have the continue evaluated process. Also support the staffs to entitle educational technology for learns. Action: The administrators should continue the result evaluated and planning for further development.

Article Details

Section
Articles