การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจขาดเลือดสำหรับบุคคลวัยผู้ใหญ่ วัยผู้สูงอายุ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ศุภมาตร ปาลรังษี

Abstract

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบมากในบุคคลวัยผู้ใหญ่ วัยผู้สูงอายุ หากเกิดการเจ็บป่วยจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ การพึ่งพิงการทำกิจวัตรประจำวันของตนเอง (Activity Daily Living; ADL) ดัชนีความสุขทั้งส่วนบุคคล ส่วนครอบครัว และชุมชนลดลง สูญเสียเศรษฐกิจในการดูแลรักษาพยาบาลฟื้นฟูทั้งระดับบุคคล ชุมชน และประเทศ มาตรการการป้องกันการเกิดโรคทั้ง 3 โรคระยะสั้นที่ดีคือป้องกันประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคทั้ง 3 ไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วย การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างต่อการรับรู้ความรุนแรงของโรคและรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคทั้ง 3 นำสู่การควบคุมตนเองเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจขาดเลือดต่อไป กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ถูกคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โมเดลการเรียนรู้ออกแบบตามแนวคิดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student center) บูรณาการกับแนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยา และสุขศึกษา เรื่องการเสริมแรง แรงสนับสนุนทางสังคม และรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพเน้นประเด็นการรับรู้ความรุนแรงของโรค และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคบูรณาการแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆให้สอดคล้องกับสถานภาพของกลุ่มตัวอย่างแต่ละคน บูรณาการศาสตร์การเรียนรู้บูรณาการประสบการณ์วิชาชีพโดยใช้ทีมผู้เชี่ยวชาญจากทุกศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรค อาหาร การออกกำลังกายเครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการตรวจสุขภาพ ประวัติบุคคลที่เจ็บป่วยในครอบครัว และแบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรค โรคละ 20 ข้อ และการรับรู้โอกาสเสี่ยงโรคละ 20 ข้อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวานเฉลี่ย 15.12 ± 1.43 เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองที่มีคะแนนเฉลี่ย 13.23 ± 2.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการรับรู้ความรุนแรงโรคความดันโลหิตสูง เฉลี่ย 17.79 ± 2.16 เพิ่มมากกว่าก่อนการทดลองที่มีคะแนนเฉลี่ย 14.60 ± 4.04 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) รับรู้ความรุนแรงโรคหัวใจขาดเลือดหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 11.56 ± 1.91 เพิ่มมากกว่าก่อนการทดลองที่มีคะแนนเฉลี่ย 10.35 ± 2.78 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และกลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าตนเองมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงจากการบริโภคอาหารมากที่สุดรองลงมาคืออ้วน และออกกำลังกายน้อย และรับรู้ว่าตนเองมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดจากสาเหตุรับประทานอาหารมากที่สุด รองลงมาคือขาดการออกกำลังกายและอ้วน ผลการวิจัยพบว่าโมเดลการเรียนรู้ที่ออกแบบสามารถเพิ่มการรับรู้ความรุนแรงและเพิ่มการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจขาดเลือดของบุคคลวัยผู้ใหญ่ และบุคคลวัยสูงอายุได้

 

Perceived risk and severity of diabetes mellitus , hypertension, ischemic heart diseases for the adult and elder in Nakhon Si Thammarat Province

This quasi-experimental research was aimed (1) to study the learning results of the samples towards the perceived severity and the perceived risk of chronic diseases; diabetes mellitus, hypertension and ischemic heart disease in Nakhon Si Thammarat province, and (2) to study the effectiveness of learning model package. This package was designed on the concept of learning theories; student centeredness, psychology theory, health education, reinforcement, social support, and health belief model. The questionnaires were used in pre and post test of the study. The samples were purposively selected from the risked people of these diseases, using the criteria from hospital surveillance involving blood sugar, blood pressure, BMI, genetic, and risk behaviors (n=250). The frequencies, percentage, mean were used in this study.

The results were found that the average diabetes mellitus score increased from 13.23 ± 2.70 to 15.12 ± 1.43 with statistical significance (p <0.05). After treatment, the average hypertension scores of perceived severity was higher from 14.60 ± 4.04 to 17.79 ± 2.16 with statistical significance (p <0.05), and also the ischemic heart disease score of perceived severity was higher from 10.35 ± 2.78 to 11.56 ±. 1.91 with statistical significance (p <0.05). The samples perceived themselves at risk of diabetes mellitus and hypertension from the risk behaviors of food, obesity or overweight, and less exercise respectively, and perceiving the risk of ischemic heart disease caused by eating the most, followed by lacking of exercise and obesity.

The learning model was effective for changing the perceived severity and perceived risk of chronic diseases; diabetes mellitus, hypertension and ischemic heart disease for the adults and the elders.

Article Details

Section
Articles