การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของคนไทยพุทธ – ไทยมุสลิม ในจังหวัดพัทลุง

Main Article Content

มานะ ขุนวีช่วย
นฤมล สุขพันธ์

Abstract

โครงการวิจัยเรื่องการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของคนไทยพุทธ – ไทยมุสลิม ในจังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมทางสังคมที่คนในชุมชนตะโหมด จังหวัดพัทลุง ดำเนินการร่วมกันและเพื่อศึกษาเงื่อนไขที่ทำให้คนในชุมชนตะโหมด ซึ่งมีสัดส่วนของชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามใกล้เคียงกันสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างผสมกลมกลืน

มีวิธีการศึกษาโดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เอกสารที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งที่เป็นบทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมถึงเอกสารที่อยู่ในชุมชน เช่น เอกสารขององค์การบริหารส่วนตำบล เอกสารส่วนบุคคล เช่น หนังสืองานศพ ส่วนการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง คือการศึกษาภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม

ผลการศึกษาพบว่าในชุมชนตะโหมดมีกิจกรรมทางสังคมร่วมกันคือ กิจกรรมวันว่าง ซึ่งมีความโดดเด่นและประเพณีสำคัญของวันว่าง คือ ประเพณีสองศาสนา (วันว่างบนเนินควนโต๊ะละหมาด) ถือเป็นกิจกรรมที่เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งสองศาสนาในตะโหมด นอกจากนี้พบว่ามีการไปร่วมงานบวช งานแต่ง งานตาย ของคนในชุมชน รวมถึงกิจกรรมความร่วมมือในลักษณะที่เป็นส่วนรวมที่ปรากฏในรูปขององค์กรชุมชน เช่นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

ส่วนเงื่อนไขที่ส่งผลให้เกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมระหว่างคนไทยพุทธและมุสลิมคือ พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในประเด็นที่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรมลายูในฐานะเป็นดินแดนแห่งการผสานประโยชน์ รวมถึงความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษ โดยเฉพาะความเชื่อที่ปรากฏเรื่องทวด ความสมบูรณ์และหลากหลายของทรัพยากร ทำให้ชุมชนเรียนรู้เรื่องการพึ่งพาตนเอง และพึ่งพากันและกัน การอยู่ห่างจากกระแสการพัฒนาแนวใหม่ โดยกระแสการพัฒนาแนวใหม่ที่เข้าสู่ชุมชนช้ากว่าพื้นที่อื่น ๆ เพราะเป็นดินแดนชายขอบ การเป็นดินแดนรอยต่อของวัฒนธรรมพุทธและอิสลาม เงื่อนไขทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของคนที่นับถือศาสนาต่างกันในชุมชนตะโหมด จังหวัดพัทลุง

 

Cultural Compatibility between Thai – Buddhist and Thai – Muslim in Province of Pattalung

The objective of this research is to study the factors and the social activities that make the Thai – Buddhist and the Thai – Muslim in the Ta-mote Community become compatible. The proportion of the Buddhists and the Muslims in the area is nearly the same and they get on well and live happily together.

The research is carried out by studying the related documents of the people’s local wisdom in the form of academic paper, research, and thesis, including the documents found in the area such as the ones from the local administration offices, and individual data such as printed obituaries or funeral books. The data are also collected through field surveys, observation, and interviews.

The outcome of the study shows that the people in Ta-mote Community have been participating in their highlighted social activities, one of which is the religious free day tradition called “Wan Wang Bon Neon Kuan Toh La Mard”, which is considered as a link between the two religions. Although they have different beliefs, they joined together in the community activities such as the monk hood ordination, the wedding ceremonies, and the funerals as well as other public activities, one of which is Ta-mote Temple Council, which focuses on natural resource conservation.

The factors bringing about the cultural compatibility between the Thai-Buddhists and the Thai-Muslims are based on the historical background of the people living in the areas. It is believed that the people living in the Southeast Asia or the Malaya Peninsula have the same great grandparents. The fertility and diversity of the natural resources have also caused these people to be self-reliant and mutual interdependent. Due to being distant from the wave of the modern development or due to the slower access to the community than other communities as it is situated on the linking boundary of two cultures, Buddhism and Islamic. Thus Ta-mote community has become the place where the people from different religions and beliefs have been harmoniously mixed together.

Article Details

Section
Articles