A Pilot Study of the Development of the Health Behavior Model for the Prevention of Hand, Foot and Mouth Disease among Children and Caregivers in Child Development Center, Sadao District, Songkhla Province

Main Article Content

Sarawut Amporn
Penmat Sukhonthachit
Thanittha Ditsuwan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษานำร่องรูปแบบพฤติกรรมสุขภาพและทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของเด็กและผู้ดูแลเด็กในการป้องกันโรคมือเท้าปากของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 65 คน และผู้ดูแลเด็ก 15 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 ถึงเดือนตุลาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมสุขภาพของเด็กและผู้ดูแลเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของเด็กและผู้ดูแลเด็กก่อนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและหลังการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ 1 และ 3 เดือน ด้วยสถิติ One–way repeated measures ANOVA เมื่อนำรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของเด็กและผู้ดูแลเด็กมาทดสอบประสิทธิผลพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนารูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของเด็กและผู้ดูแลเด็ก 1 และ 3 เดือน มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนารูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของเด็กและผู้ดูแลเด็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในการพัฒนารูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของเด็กและผู้ดูแลเด็กควรศึกษาถึงปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความรู้ของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก สิ่งแวดล้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็ก เหล่านี้จะสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคมือเท้าปากในบริบทของพื้นที่ได้ รวมถึงเป็นแนวทางเชิงรุกในการป้องกันและควบคุมโรคมือเท้าปากของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งอื่นๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2550). แนวทางการปฏิบัติงานโรคมือเท้าปากและการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สำหรับบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล. กรุงเทพฯ: บริษัทบอร์นทูบีพับลิชชิ่งจำกัด.
บงกช เชี่ยวชาญยนต์ ปรีชา หนูฟอง และสุนีย์ เหมพัฒน์. (2553). รูปแบบการป้องกันโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมืองในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดตรัง. วารสารควบคุมโรค, 36(2), 129-135.
บุญเลิศ จันทร์หอม. (2557). การปฏิบัติของผู้ดูแลเด็กและเด็กทางด้านสุขภาพอนามัยในการป้องกันการเกิดโรคมือเท้าปากของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
พัชราภรณ์ ไพศาขมาส. (2554). การปฏิบัติของผูดูแลเด็กและสุขอนามัยของเด็กรวมทั้งสิ่งแวดล้อม ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เกิดโรคมือเทาและปาก อําเภอดอยเตา จังหวัดเชียงใหม. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สันติพงษ์ กัณทะวารี. (2549). พฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าและปากของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา. (2561). สถานการณ์โรคติดต่อที่สำคัญของเขตสุขภาพ ที่ 12. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม2561, จาก: https://info.sasuk12.com/archives/ceo12/
july60/3_3.pdf.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2561). สถานการณ์โรคมือเท้าปาก 2560. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม2561, จาก: https://www.skho.moph.go.th/skho/news_skho.php?newsid=2076 &pid=&txt_search=&Page=1.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.G. and Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.
Lemeshow, S., David, W.K., Lwanga, J. and Kaggwa, S. (1990). Adequacy of sample size in health studies. New York: Chichester Wiley.