Reducing of the Wasting Time in the Dirt Testing Process of Rubber by Lean Six Sigma Approach : A Case Study in a Rubber Factory การลดเวลาสูญเสียในกระบวนการทดสอบปริมาณสิ่งสกปรกในยางแท่ง ด้วยแนวคิดลีนซิกซ์ซิกม่า : กรณีศึกษาโรงงานผลิตยางแท่ง

Main Article Content

นิภาส ลีนะธรรม
วีระยุทธ สุดสมบูรณ์
ฉัตรชัย แก้วดี
อดิศร ไกรนรา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดเวลาสูญเสียในกระบวนการทดสอบปริมาณสิ่งสกปรก
ในยางแท่ง ภายใต้ข้อจำกัดที่เป็นไปได้และอยู่ในมาตรฐานที่กำหนด จากการศึกษาสภาพปัญหา
ในปัจจุบันพบว่า ก่อนการปรับปรุงกระบวนการมีเวลาสูญเสียสูงกว่ามาตรฐานที่โรงงานกำหนด โดยมีสาเหตุหลัก ได้แก่ เตาให้ความร้อนได้ช้าและยางตัวอย่างที่สุ่มมีน้ำหนักไม่เท่ากัน จากการปรับปรุงด้วยแนวคิดลีนซิกซ์ซิกม่า ได้ทำการเปลี่ยนฮีตเตอร์ที่ให้ความร้อนเป็นแบบหลอดอินฟราเรดและ
ทำการปรับปรุงแก้ไขคู่มือการปฏิบัติงาน เรื่องวิธีการทดสอบปริมาณสิ่งสกปรกในขั้นตอนการละลายยาง หลังจากได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามแนวทางวิธีการที่กำหนดพบว่า หลังการปรับปรุงกระบวนการ เวลาสูญเสียอยู่ในมาตรฐานที่โรงงานกำหนด ซึ่งลดลงจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 55.65
มีค่าสมรรถภาพกระบวนการหลังการปรับปรุง Cpk เท่ากับ 2.47 แสดงว่ากระบวนการอยู่ในเกณฑ์ดี จากข้อมูลกระบวนการหลังการปรับปรุงไม่พบความสูญเสียเลย โดยช่วงความเชื่อมั่นของกระบวนการเท่ากับ 1.78 < Cpk < 3.16 จากการประเมินจุดคุ้มทุนของโครงการคิดเป็น 1.46 ปี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

นิพนธ์ มณีโชติ และผจงจิต พิจิตบรรจง. (2562). การลดของเสียในกระบวนการผลิตยางแท่ง. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 5(1), 66-74.
นิภาส ลีนะธรรม สุวรรณา พลภักดี และภัทราวรรณ คหะวงศ์. (2560). การลดเวลาสูญเสียในแผนกคลังสินค้าด้วยแนวคิดลีนซิกซ์ซิกม่า : กรณีศึกษา โรงงานผลิตยางแท่ง. ใน การประชุมวิชาการทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3 (หน้า 130-141). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วัชรินทร์ ดงบัง. (2556). รังสีอินฟราเรดและการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 18(2), 299-304.
ศุภวัชร์ เมฆบูรณ์ และจีรวัฒน์ ปล้องใหม่. (2560). การลดของเสียในกระบวนการผลิตโพลิเมอร์โซลิด คาปาซิเตอร์. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 7(1), 105-123.
สถาบันวิจัยยาง. (2561). การทดสอบตามมาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์. กรุงเทพ: กองการยาง กรมวิชาการเกษตร.
สุธี อินทรสกุล บัญชา สมบูรณ์สุข และปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์. (2560). อุตสาหกรรมยางพาราไทย: สถานภาพและแนวทางการพัฒนาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(ฉบับพิเศษ), 80-107.
อำนาจ อมฤก. (2562). การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร: กรณีศึกษาบริษัท สุพรีม พรีซิชั่น จำกัด. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 5(1), 73-95.
Breyfogle III, F.W. (2003). Implementing Six Sigma: smarter solutions using statistical methods. Texas: John Wiley & Sons.
Hassan, M. (2013). Applying Lean Six Sigma for waste reduction in a manufacturing environment. American Journal of Industrial Engineering, 1(2), 28-35.
Kaushik, P. and Khanduja, D. (2011). DM make up water reduction in thermal power plants using Six Sigma DMAIC methodology. Journal of Scientific & Industrial Research, 8(1), 36-42.
Montgomery, D.C. (2005). Design and analysis of experiments. New York: John Wiley.
Montgomery, D.C. (2009). Introduction statistical quality control. Texas: John Wiley.
Ramasamy, S. (2009). Total quality management. New Delhi: McGraw-Hill.
Sliva, T. and Ferreira, P. (2017). Improve the extrusion process in tire production using Six Sigma methodology. In the 3rd International Conference on Manufacturing Engineering Society MESIC 2017. (1104-1111). Vigo: Spain.