Development of Facial Cleansing Anti-Acne Gel Formulation Using Terminalia chebula Extract การพัฒนาสูตรเจลล้างหน้าป้องกันสิวโดยใช้สารสกัดสมอไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากรายงานของสถาบันโรคผิวหนัง พบว่าสิวเป็นโรคที่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของปี พ.ศ. 2552-2555 ของโรคที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่สถาบันโรคผิวหนังของประเทศไทย ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย Propionibacterium acnes ดังนั้นในงานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย P. acnes จากสารสกัดใบอ่อนของสมอไทย ทดสอบหาบริเวณยับยั้งเชื้อ (inhibition zone) ด้วยวิธี agar disc diffusion technique รวมทั้งทดสอบกลุ่มสารพฤกษเคมีเบื้องต้น หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ผลจากการศึกษาพบว่าใบอ่อนของสมอไทยมีผลผลิตร้อยละเท่ากับ 7.99±0.69 พบสารในกลุ่มฟีนอล ฟลาโวนอยด์ และแอลคาลอยด์เป็นองค์ประกอบ มีค่าสารประกอบฟีนอลิกรวมเท่ากับ 261.54±1.32 มิลลิกรัมแกลลิกแอซิดต่อกรัมสารสกัด มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน IC50 เท่ากับ 0.04 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อเทียบกับกรดแอสคอร์บิก 0.004 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดสมอไทยออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยมีโซนใส (clear zone) เท่ากับ 21.57±0.37 มิลลิเมตร อย่างไรก็ตามผลที่ได้ยังมีค่าน้อยกว่ายาปฏิชีวนะคลินดามัยซิน (44.89±2.30 มิลลิเมตร) ซึ่งผลจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสมอไทยและสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เจลล้างหน้าเพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.
References
ณพัฐอร บัวฉุน และวิชุดา มั่นจิตร. (2558). สารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดจากชะเอมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 78-95.
พิชยา ประเสริฐแสง และวรินทร ชวศิริ. (2545). องค์ประกอบทางเคมีของผลพิลังกาสา (Ardisia colorata Roxb.) และฤทธิ์ทางชีวภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
มนสิชา ขวัญเอกพันธ์ และเยาวนารถ งามนนท์. (2555). ฤทธิ์ยับยังเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดจากส่วนเถาชะเอมไทย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวจสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรินทร์ รังสีภาณุรัตน์ พัชรี กัมมารเจษฎากุล และอิสยา จันทร์วิทยานุชิต. (2559). ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC 25923 Bacillus cereus และ Escherichia coli ATCC 25922. วารสาร มฉก.วิชาการ, 19(38), 35-48.
อาศรมศรีมงคล. (2014). ตรีผลาปรับสมดุลย์ภาพในหน้าร้อน. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2563, จาก: http://arsomsrimongkol.com/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%99/.
Aneja, K.R. and Joshi, R. (2009). Evaluation of antimicrobial properties of fruit extracts of Terminalia chebula against dental caries pathogens. Jundishapur Journal of Microbiology, 2(3), 105-111.
Barazani, V.O., Sathiyomoorthy, P., Shalev, R., Vardy, D. and Golan, G.A. (2003). Screening of South-Indian medicinal plants for anti-fungal activity. Phytotherapy Research, 17(9), 1123-1125.
Dutta, B.K., Rahman, I. and Das, T.K. (1998). Antifungal activity of Indian plant extracts. Mycoses, 41(11-12), 535-536.
Leite, L. and Dourado, L. (2013). Laboratory activities, science education and problem-solving skills. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 106, 1677-1686.
Lertsatitthanakorn, P., Taweechaisupapong, S., Aromdee, C. and Khunkitti, W. (2006). In vitro bioactivities of essential oils used for acne control. International Journal of Aromatherapy, 16(1), 43-49.
Lingkard, K. and Singlaton, V.L. (1977). Total phenal analysis automation and comparison with manual method. American Society for Enology and Viticulture, 28, 49-55.
Sato, Y., Oketani, H., Singyouchi, K., Ohtsubo, T., Kihara, M. and Shibata, H. (1997). Extraction and purification of effective antimicrobial constituents of Terminalia chebula Retz. Against methicillin resistant Staphylococcus aureus. Biological and Pharmaceutical Bulletin, 20(4), 401-404.
Sithisarn, P., Rojsanga, P., Sithisarn, P. and Kongkiatpaiboon, S. (2015). Antioxidant activity and antibacterial effects on clinical isolated streptococcus suis and staphylococcus intermedius of extracts from several parts of cladogynos orientalis and their phytochemical screenings. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, doi: https://doi.org/10.1155/2015/908242.