Financial Return Assessment of Solar Power Plant under Subsidy Policy by Thai Government การประเมินผลตอบแทนทางการเงินของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้นโยบายสนับสนุนส่วนเพิ่มอัตราการรับซื้อไฟฟ้าโดยภาครัฐ

Main Article Content

ธัชชา สามพิมพ์

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีความต้องการเพิ่มกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ภายใน 20 ปีข้างหน้า จากกำลังการผลิตที่ 2,663 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2561 เป็น 15,574 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2580 ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงได้พยายามเพิ่มกำลังการผลิตโดยการออกนโยบายสนับสนุนทางการเงินในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย มาตรการสนับสนุนรูปแบบ Adder ซึ่งยกเลิกไปแล้ว และมาตรการสนับสนุนรูปแบบ feed in tariff (FiT) ที่ใช้ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของมาตรการสนับสนุนของประเทศไทยโดยเปรียบเทียบผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน และระยะเวลาคืนทุน ผลการวิเคราะห์พบว่ามาตรการสนับสนุนรูปแบบ FiT เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากสามารถช่วยให้ผลตอบแทนของโครงการมีกำไร ในขณะที่มาตรการสนับสนุนรูปแบบ FiT ใช้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลน้อยกว่ามาตรการสนับสนุนรูปแบบ Adder ผลการวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน และระยะเวลาคืนทุน ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1 เมกะวัตต์ ภายใต้มาตรการสนับสนุนรูปแบบ FiT มีค่าเท่ากับ 10,767,026 บาท 9 เปอร์เซ็นต์ และ 10 ปี 1 เดือน ตามลำดับ โดยใช้เงินสนับสนุนจากรัฐบาล เท่ากับ 73,495,017 บาท

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2558). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 (AEDP2015). สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2563, จาก: http://www.eppo.go.th/index.php/th/plan-policy/tieb/aedp.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2561). รายงานสถานการณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2560. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563, จาก: http://webkc.dede.go.th/testmax/sites/default/files/Book%20TPSR%20THAI.pdf.

กระทรวงพลังงาน. (2558). แผนปฏิบัติการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2563, จาก: https://www.dede.go.th/download/files/AEDP%20Action%20Plan_Final.pdf.

ชาณิกา ปัญจพุทธานนท์ และรัตพงษ์ สอนสุภาพ. (2559). ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 11-20.

ธนาพล ตันติสัตยกุล. (2558). การประเมินมาตรการสนับสนุนทางการเงินสาหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาที่พักอาศัยในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(4), 605-621.

บดินทร์ เสนานนท์ กัญญานัฐ ทองเทพ กมล จิรเสรีอมรกุล วันจักรี์ เล่นวารี เสริมสุข บัวเจริญ และ ยิ่งรักษ์ อรรถเวชกุล. (2562). การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 8

เมกะวัตต์ ระหว่างการติดตั้งแบบระบบคงที่กับแบบระบบติดตามดวงอาทิตย์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 14(2), 1-19.

ปฐมทัศน์ จิระเดชะ. (2553). การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 4(2), 10-24.

พวงทอง วังราษฎร์ วราภรณ์ สิงห์แก้วสืบ และสายนที ทรัพย์มี. (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโครงการลงทุนผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 89-100.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2562). แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018). สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2563, จาก: http://www.eppo.go.th/images/Infromation_service/public_relations/PDP2018/PDP2018.pdf.

อรรถพล เตวัฒนรัตน์. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 1 เมกะวัตต์. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร.

Boomsma, T.K., Meade, N. and Fleten, S.E. (2012). Renewable energy investments under different support schemes: A real options approach. European Journal of Operational Research, 220(1), 225-237.

Cory, K., Couture, T. and Kreyci, C. (2009). Feed-In Tariff policy: design, implementation, and RPS policy interactions. National Renewable Energy Laboratory’s Technical Report. Colorado.

Chaichana, P., Womgsapai, W., Damrongsak, D., Keiichi, K. and Luangchosiri, N. (2017). Promoting community renewable energy as a tool for sustainable development in rural areas of Thailand. Energy Procedia, 141, 114-118.

Chimres, N. and Wongwises, S. (2016). Critical review of the current status of solar energy in Thailand. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 58, 198-207.

Mitchell, C. and Connor, P. (2012). Renewable energy policy in the UK 1990-2003. Energy Policy, 32, 1935-1947.

Peerapong, P. and Limmeechokchai, B. (2014). Investment incentive of grid connected solar photovoltaic power plant under proposed feed-in tariffs framework in Thailand. Energy Procedia, 52, 179-189.

Pita, P., Tia, W., Suksuntornsiri, P., Limpitipanick, P. and Limmeechockchai, B. (2015). Assessment of feed-in policy in Thailand: Impacts on national electricity prices. Energy Procedia, 79, 584-589.

Sampim, T. and Kokkaew, N. (2013). Modelling of government support in biopower plant projects: The case of Thailand. Energy Procedia, 52, 525-535.

Sampim, T. and Kokkaew, N. (2017). Risk management in biomass power plants using fuel switching flexibility. Energy Procedia, 138, 1099-1104.

Tongsopit, S. (2015). Thailand’s feed-in tariff for residential rooftop solar PV systems: Progress so far. Energy for Sustainable Development, 29, 127-134.

Tongsopit, S., Junlakarn, S., Wibulpolprasert, W., Chaianong, A., Kokchang, P. and

Nghia, V.H. (2019). The economics of solar PV self-consumption in Thailand. Renewable Energy, 138, 395-408.