Effects of cyannobacteria, Nostoc commune Vaucher TISTR 8870 supplementation on growth, feed utilization and coloration of Siamese fighting fish (Betta splendens Regan, 1910) ผลของการเสริมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Nostoc commune Vaucher TISTR 8870 ต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหารและการสร้างสีของปลากัด (Betta splendens Regan, 1910)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการสร้างสีของปลากัด (Betta splendens Regan, 1910) ที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Nostoc commune Vaucher TISTR 8870 โดยเลี้ยงปลากัดอายุ 6 สัปดาห์ (0.72±0.09 กรัม) ด้วยอาหารที่มีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน N. commune Vaucher TISTR 8870 ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน 5 ระดับ คือ 0.0 1.0 2.5 5.0 และ 10.0 เปอร์เซ็นต์ แต่ละชุดการทดลองมี 15 ซ้ำ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าปลากัดที่เลี้ยงด้วยอาหารไม่เสริมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน N. commune Vaucher TISTR 8870 และที่มีการเสริมสาหร่าย 1 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ความยาวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย น้ำหนักเพิ่มขึ้นต่อวัน และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเพิ่มขึ้นต่อวันดีที่สุดและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) กับทุกชุดการทดลอง ยกเว้นอัตราการรอดตายที่ทุกชุดการทดลองมีค่าเท่ากับ 100±0.00 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ พบว่าชุดการทดลองที่มีการเสริมสาหร่าย 1 เปอร์เซ็นต์ มีค่าต่ำที่สุดและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ขณะที่ค่าความสว่าง ค่าความเป็นสีแดง และความเป็นสีเหลืองของสีผิวของปลากัดที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เสริมและไม่เสริมสาหร่ายสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน N. commune Vaucher TISTR 8870 ซึ่งพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p > 0.05) กิจกรรมจำเพาะของเอนไซม์เอนไซม์เพปซินและไคโมทริปซินไม่มีความแตกต่างกัน แต่กิจกรรมจำเพาะของเอนไซม์ไลเปสมีค่าสูงในปลาในชุดควบคุมและปลาที่ได้รับสาหร่ายที่ระดับ 1.0 และ 2.5 เปอร์เซ็นต์ (p > 0.05) คุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลากัดพบว่าค่าเฉลี่ยความเป็นกรด-ด่าง และค่าอุณหภูมิน้ำมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยพบว่าชุดควบคุม มีค่าเฉลี่ยความเป็นกรด-ด่าง ต่ำสุดอยู่ที่ 6.24±0.10 และค่าอุณหภูมิน้ำ พบว่าที่เสริมสาหร่าย 2.5 เปอร์เซ็นต์ มีค่าอุณหภูมิต่ำสุดคือ 26.34±0.03 องศาเซลเซียส ส่วนค่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำและแอมโมเนียไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p > 0.05) กับทุกชุดการทดลอง ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าอาหารปลากัดที่มีการเสริมสาหร่าย 1.0 เปอร์เซ็นต์มีค่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำสุดซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยงปลากัดเชิงพาณิชย์
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.
References
เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์ ยุวดี พีรพรพิศาล และนิวุฒิ หวังชัย. (2554) ผลของการเสริม Spirulina platensis ในอัตราที่ต่างกันต่อการเจริญเติบโตและโครงสร้างกรดไขมันของปลานิลแดง (Oreochromis mossambicus x O. niloticus). การประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปาริชาต นิลวิเชียร อานนท์ สรรพจักร และนิรันดร ภวันู. (2563). ผลของสไปรูลินาต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย ความเข้มสีผิวและการสะสมแคโรทีนอยด์ของปลาสอดแดง. แก่นเกษตร, 48 (ฉบับพิเศษ 1), 953-958.
สุนีรัตน์ เรืองสมบูรณ์ ศักดิ์ชัย ชูโชติ และปวีณา ทวีกิจการ. (2555). การใช้อาหารผสมไซยาโนแบคทีเรีย Nostoc commune สดและแห้งในการเลี้ยงปลาหมอสี Kenyi cichlid, Pseudotropheus lombardoi. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 40, 208-217.
อดิศักดิ์ เกลี้ยงตะพงศ์ การุณ ทองประจุแก้ว และสมรักษ์ รอดเจริญ. (2561). การเจริญเติบโตของปลาทองออแรนดา (Carassius auratus) ที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Hapalosiphon welwitschii TISTR 8237. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 10(3), 356-367.
อดิศักดิ์ เกลี้ยงตะพงศ์. (2559). สภาวะที่เหมาะสมในการเลี้ยงสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Hapalosiphon sp. เพื่อเป็นอาหารปลาทองออแรนดา (Carassius auratus). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง, ตรัง.
อาภารัตน์ มหาขันธ์. (2546). การเพาะเลี้ยงสาหร่ายน้ำจืด. กรุงเทพฯ: ศูนย์จุลินทรีย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
AOAC. (2005). Official methods of analysis. (18th ed.) Washington, DC: Association of Official Analytical Chemists.
APHA, AWWA and WPCF. (1998). Standard methods for the examination of water and wastewater. (20th ed.) Washington, DC: Water Pollution Control Federation.
Bureau, D.P., Kaushik, S.J. and Cho, C.Y. (2002). Bioenergetics. In Halver, J.E. and Hardy, R.W. (Eds.). Fish Nutrition, pp. 1-59. San Diego: Academic Press Inc.
Liao, W.L., Nur, E., Borhan, S., Okada, S., Matsui, T. and Yamaguchi, K. (1993). Pigmentation of culture black tiger prawn by feeding a Spirulina sp. supplemented diet. Nippon Suisan Gakkaishi, 59(1), 165-159.
Lowry, O.H., Rosenbrough, N.J., Farr, A.L. and Randall, R.J. (1951). Protein measurement with the Folin phenol reagent. Journal of Biological Chemistry, 193(1), 265-275.
Peiiaflorida, V.D. and Golez, V.D. (1996). Use of seaweed meals from Kappaphycus aluarezii and Gracilaria heteroclada as binders in diets for juvenile shrimp Penaeus monodon. Aquaculture, 143(3-4), 393-401.
Qiu, B., Liu, J., Liu, Z. and Liu, S. (2002). Distribution and ecology of the edible cyanobacterium Ge-Xian-Mi (Nostoc) in rice fields of Hefeng Country in China. Journal of Applied Phycology, 14, 423-429.
Rountos, K.J., Kim, J.J., Hattenrath-Lehmann, T.K. and Gobler, C.J. (2019). Effects of the harmful algae, Alexandrium catenella and Dinophysis acuminata, on the survival, growth, and swimming activity of early life stages of forage fish. Marine Environmental Research, 148, 46-56.
Rungruangsak-Torrissen, K., Moss, R., Andresen, L.H., Berg, A. and Waagbø, R. (2006). Different expressions of trypsin and chymotrypsin in relation to growth in Atlantic salmon (Salmo salar L.). Fish Physiology and Biochemistry, 32(1), 7-23.
Sattanathan, G., Palanisamy, T., Padmapriya, S. Arumugam, V.A., Park, S., Kim, I.H. and Balasubramanian, B. (2020). Influences of dietary inclusion of algae Chaetomorpha aerea enhanced growth performance, immunity, haematological response and disease resistance of Labeo rohita challenged with Aeromonas hydrophila. Aquaculture Reports, 17, doi: https://doi.org/10.1016/j.aqrep.2020.100353.
Thongprajukaew, K., Kovitvadhi, U., Kovitvadhi, S., Somsueb, P. and Rungruangsak-Torrissen, K. (2011). Effects of different modified diets on growth, digestive enzyme activities and muscle compositions in juvenile Siamese fighting fish (Betta splendens Regan, 1910). Aquaculture, 322-323, doi: https://doi.org/10.1016/j.aquaculture.2011.10.006.
Winkler, U.K. and Stuckmann, M. (1979). Glycogen, hyaluronate and some other polysaccharides greatly enhance the formation of exolipase by Serratia marcescens. Journal of Bacteriology, 138(3), 663-670.
Worthington, V. (1993). Worthington enzyme manual. Enzymes and related biochemicals. New Jersey: Worthington Chemical.
Zar, J.H. (1996). Biostatistical analysis. (3rd ed.) Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.