Diversity of Macrobenthic Fauna and its Relationship with Environmental Factors in the Yom River ความหลากหลายของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่และความสัมพันธ์ต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำยม

Main Article Content

ปฏิพัทธ์ สันป่าเป้า
สุพัฒน์ พลซา
วิทยา ทาวงศ์
ภาวิณี พงษ์ชัยสิทธิ์
ปิยวัฒน์ ปองผดุง

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่และปัจจัยสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อประเมินคุณภาพของแหล่งน้ำและทราบถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสัตว์หน้าดินในแม่น้ำยม การศึกษาดำเนินการโดยออกสำรวจในพื้นที่แม่น้ำยม รวม 16 สถานี เก็บตัวอย่างในช่วงฤดูหนาว (มกราคม พ.ศ. 2561) ฤดูร้อน (เมษายน พ.ศ. 2561) และฤดูฝน (กรกฎาคม พ.ศ. 2561) ผลการศึกษาพบสัตว์หน้าดินทั้งหมด 47 วงศ์ จาก 3 ไฟลัม โดยสัตว์หน้าดินกลุ่มเด่น ได้แก่ Unionidae (10.67 เปอร์เซ็นต์) Viviparidae (10.46 เปอร์เซ็นต์) Chironomidae (8.22 เปอร์เซ็นต์) และ Tubificidae (7.44 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ ค่าดัชนีความหลากหลาย ดัชนีความสม่ำเสมอ และดัชนีความชุกชุมของสัตว์หน้าดิน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.07±0.07 0.67±0.09 และ 1.87±0.09 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์หน้าดินและปัจจัยสิ่งแวดล้อมโดยวิธี CCA พบว่าตัวอ่อนริ้นน้ำจืดอันดับ Diptera และไส้เดือนน้ำจืดอันดับ Haplotaxida และ Lumbriculida มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิน้ำ ความขุ่น บีโอดี ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท และปริมาณสารอินทรีย์รวมในดินตะกอน ในขณะที่ตัวอ่อนแมลงน้ำอันดับ Hemiptera Odonata Decapoda Trichoptera และ Ephemeroptera มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายในน้ำ การนำไฟฟ้า ความเป็นด่าง และความโปร่งแสง เมื่อประเมินคุณภาพน้ำด้วยค่า ASPT (ค่าเฉลี่ย 5.11±0.85) และเปรียบเทียบค่าตามดัชนีมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน สามารถสรุปได้ว่าคุณภาพน้ำในแม่น้ำยมอยู่ในระดับปานกลาง และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภท 3 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำและการควบคุมการปล่อยของเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในแม่น้ำยมอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2546). คู่มือการติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำจืดผิวดิน. กรุงเทพฯ: สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ.

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์ ศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร และสันธิวัฒน์ พิทักษ์พล. (2556). ความหลากหลายของแมลงน้ำในแม่น้ำอิง. วารสารแก่นเกษตร, 41(1), 142-148.

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์ ศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร สุกัญญา ฟักแก้ว และภัทมาศ อ่ำทอง. (2560). การใช้แมลงน้ำเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำในลำห้วยสาขาของหนองเล็งทรายจังหวัดพะเยา. วารสารแก่นเกษตร, 45(4), 653-662.

กิติยา ถาวโรฤทธิ์ พงษ์พันธ์ สุขสุพันธ์ และนฤมล แสงประดับ. (2560). ความหลากหลายของแมลงชีปะขาว แมลงสโตนฟลายและแมลงหนอนปลอกน้ำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(3), 149-161.

ฐิติมน ญาณพืช และสุชาติ เหลืองประเสริฐ. (2562). การประเมินความสัมพันธ์ของแพลงก์ตอนพืชกับคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา. วิศวกรรมสาร มก, 107(32), 65-72.

ณัฐธิดา คลังกลาง และเรวดี โรจนกนันท์. (2554). การใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินเพื่อเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำทางชีวภาพโดยการประยุกต์ใช้ belgian biotic index (BBI) กรณีศึกษาลําน้ำใกล้โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มในอําเภอหนองใหญ่จังหวัดชลบุรี. ใน การประชุมสัมมนาทางวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 (หน้า 765-773). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐธิดา จันทวงศ์ และสุปิยนิตย์ ไม้แพ. 2563. ความหลากชนิดและการกระจายของโรติเฟอร์และคลาโดเซอแรนในแหล่งน้ำจืด อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 39(2), 45-59.

ทินพันธุ์ เนตรแพ. (2556). ความหลากหลายของสัตว์พื้นท้องน้ำในแม่น้ำจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(5), 1-8.

บุญเสฐียร บุญสูง. (2557). คู่มือจำแนกตัวอ่อนแมลงชีปะขาว แมลงสโตนฟลายและแมลงหนอนปลอกน้ำในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปฏิพัทธ์ สันป่าเป้า สุพัฒน์ พลซา ปิยวัฒน์ ปองผดุง และวิทยา ทาวงศ์. (2560). ความหลากหลายชนิดของแพลงก์ตอนพืชและความสัมพันธ์ต่อคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่ถาง จังหวัดแพร่. วารสารแก่นเกษตร, 45(4), 663-674.

พิชยา ชูมก. (2557). ความหลากหลายของสาหร่ายขนาดใหญ่แพลงก์ตอนพืชแพลงก์ตอนสัตว์และไดอะตอมพื้นท้องน้ำและการใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำในแม่น้ำลี้จังหวัดลําพูน. พิฆเนศวร์สาร, 10(2), 81-97.

พิชาศิษฐ์ แสงเมฆ และสิทธิชัย ฮะทะโชติ. (2564). ผลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อประชาคมสัตว์หน้าดินในหนองหารจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 13(1), 107-124.

วิมลรัตน์ บุตรดาซุย เจนจิรา หมื่นเร็ว และสุขทัย พงศ์พัฒนศิริ. (2556). การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำผิวดินในกว๊านพะเยา (ลุ่มน้ำแม่โขง). วารสารนเรศวรพะเยา, 6(2), 111-115.

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. (2555). ฐานข้อมูลพื้นฐานลุ่มน้ำยม. กรุงเทพ: สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน).

สมสงวน ปัสสาโก จุไรรัตน์ คุรุโคตร และชมภู่ เหนือศร. (2561). คุณภาพน้ำและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำชี. วารสารเกษตรพระวรุณ, 15(1), 156-167.

สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์. (2545). คู่มือหาชื่อสัตว์เล็กน้ำจืด โครงการนักสืบสายน้ำ. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นท์ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์ และศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร. (2557). คุณภาพน้ำและความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในแม่น้ำอิง. วารสารแก่นเกษตร, 42(ฉบับพิเศษ 1), 778-784.

อำพร ศักดิ์เศรษฐ ณิชารินทร์ แก้วฤทธิ์ และชไมพร แก้วศรีทอง. (2557). การประเมินคุณภาพน้ำด้วยวิธี AARL-PP Score ของแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่น และ BMWP (THAI) Score ของสัตว์หน้าดินในลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการประมง, 67(1), 29-42.

อิสระ ธานี. (2557). การใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินขนาดใหญ่เพื่อการติดตามตรวจสอบทางชีวภาพ. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 7(1), 125-137.

APHA, AWWA and WEF. (2012). Standard methods for the examination of water and wastewater. (22nd ed). Water Environment Federation. Washington DC: American public health association.

Boonsoong, B. and Sangpradub, N. (2002). Impact of intensive fish cage culture on benthic macroinvertebrates in Chi River, Northeast, Thailand. KKU Science Journal, 30(4), 228-240. (in Thai)

Brandt, R.A.M. (1974). The non-marine aquatic mollusca of Thailand. Archiv für Molluskenkunde, 105, 1-423.

De Lima, F.B., Schäfer, A.E. and Lanzer, R.M. (2013). Diversity and spatial and temporal variation of benthic macroinvertebrates with respect to the trophic state of Lake Figueira in the South of Brazil. Acta Limnologica Brasiliensia, 25(4), 429-441.

Edmonson, W.T. (1959). Freshwater biology. (2nd ed). New York: John Wiley and Sons, Inc.

Ishtiyaq, A.N., Anisa, B.K. and Abdul, H. (2017). Evaluation of seasonal variability in surface water quality of Shallow Valley Lake, Kashmir, India, using multivariate statistical techniques. Pollution, 3(3), 349-362.

Mustow, S.E. (2002). Biological monitoring of rivers in Thailand and application of the BMWP score. Hydrobiologia, 479(1), 191-229.

Parsons, T.R, Maita, Y. and Lalli, C.M. (1984). A manual of chemical and biochemical methods for seawater analysis. Oxford: Pergamon press, Inc.

R Development Core Team. (2009). R: A language and environment for statistical computing. Retrieved 5 October 2021, from: http://www.R-project.org/.

Sangpradub, N. and Boonsoong, B. (2006). Identification of freshwater invertebrates of the Mekong River and its tributaries. Vientiane: Mekong River Commission.

Silva, F.L., Moreira, D.C., Ruiz, S.S. and Bochini, G.L. (2009). Diversity and abundance of aquatic macroinvertebrates in a lotic environment in Midwestern São Paolo State, Brazil. Ambi-Agua, Taubaté, 4(1), 37-44.

Soontornprasit, K. (2012). Use of aquatic insects as bioindicators of water quality in Kwan Phayao, Phayao Province. Journal of Community Development Research, 5(1), 15-24. (in Thai)