การเจริญเติบโตของต้นเลือดมังกรภายใต้ระบบการปลูกเลี้ยงต่างกัน

Main Article Content

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
พรกมล รูปเลิศ
พัชรี เดชเลย์
สุขุมาภรณ์ แสงงาม

บทคัดย่อ

การศึกษาการเจริญเติบโตของต้นเลือดมังกรภายใต้ระบบการปลูกเลี้ยงต่างกัน ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วย 3 ระบบการปลูก จำนวน 5 ซ้ำ ได้แก่ การปลูกเลี้ยงในระบบกลางแจ้ง การปลูกเลี้ยงในระบบพรางแสง และการปลูกเลี้ยงในระบบไฮโดรโปนิกส์ พบว่าต้นเลือดมังกรที่ปลูกเลี้ยงภายใต้ระบบต่าง ๆ ในช่วงอายุ 30 และ 60 วันหลังย้ายปลูก มีการเจริญเติบโตด้านความกว้างทรงพุ่มไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามต้นเลือดมังกรที่ปลูกเลี้ยงในระบบไฮโดรโปนิกส์มีความสูงต้นเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ต้นเลือดมังกรที่ปลูกเลี้ยงในระบบกลางแจ้งและระบบพรางแสง นอกจากนี้ต้นเลือดมังกรที่ปลูกเลี้ยงในระบบกลางแจ้งมีจำนวนยอดต่อต้นมากที่สุด รองลงมา คือ ต้นเลือดมังกรที่ปลูกเลี้ยงในระบบพรางแสงและระบบไฮโดรโปนิกส์ ตามลำดับ โดยขอบใบมีลักษณะห่อและม้วนเล็กน้อย นอกจากนี้จำนวนใบต่อต้นของต้นเลือดมังกรที่เลี้ยงในระบบปลูกกลางแจ้งมีจำนวนมากกว่าการปลูกเลี้ยงในระบบอื่น ๆ ส่วนใบของต้นเลือดมังกรที่ปลูกเลี้ยงในระบบพรางแสงและระบบไฮโดรโปนิกส์มีขนาดไม่แตกต่างกัน ดังนั้นควรเลือกปลูกต้นเลือดมังกรในระบบกลางแจ้งเหมาะสมที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

จรัญ ดิษฐไชยวงศ์ สุธน สุวรรณบุตร จิดาภา สุภาผล และอมร เพชรสม. (2553). ผลการพรางแสงที่มีต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและปริมาณสารสำคัญของฟ้าทะลายโจร. ใน การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 9 (หน้า 202-209 ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

จารุณี ภิลุมวงค์ และนิจปวริชศา ภพักตร์จันทร์. (2565). “ชาเลือดมังกร” สีสันพรรณพฤกษา. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2567, จาก: https://www.hrdi.or.th/articles/Detail/1530.

รำจวน ศรีวิชัย และโสระยา ร่วมรังษี. (2546). ผลของการพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของมังกรคาบแก้ว. วารสารเกษตร, 19(1), 46-54.

สมยศ เดชภิรัตนมงคล ธวัชชัย อุบลเกิด และสมมารถ อยู่สุขยิ่งสถาพร. (2556). ผลของการพรางแสงที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าปักกิ่ง. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51 (หน้า 409-416). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมยศ เดชภิรัตนมงคล. (2561). ผลของการพรางแสงที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้ารีแพร์. แก่นเกษตร, 46(1), 501-507.

เสน่ห์ แสงคำ. (2536). หญ้าเทวดาสมุนไพรรักษาความจน. ใน สมยศ เดชภิรัตนมงคล. หนังสืออภินันทนาการเทคโนโลยีชาวบ้าน, หน้า 10-20. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด.

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ พัชรี เดชเลย์ พรกมล รูปเลิศ และปุญญพัฒน์ พลพิมพ์. (2565). การเจริญเติบโตและผลผลิตบัวบกจาก 5 แหล่งปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 41(2), 127-140.

Aluko, E.O., Adejumobi, O.A. and Fasanmade, A.A. (2019). Peristrophe roxburghiana leaf extracts exhibited anti-hypertensive and anti-lipidemic properties in L-NAMEhypertensive rats. Life Sciences, 234(4), doi: https://doi.org/10.1016/j.lfs.2019.116753.

Khue, D.B., Mai, D.S., Tuan, P.M., Oanh, D.T.B. and Van, L.T.H. (2014). Peristrophe roxburghiana - a review. Annals Food Science and Technology, 15(1), 1-9.

Oguzie, C.K., Ichetaonye, S.I., Ajekwene, K.K., Yibowei, M.E., Ulaeto, S.B., Khan, I., Khan, M.M.A., Khan, A. and Asiri, A.M. (2021). Potential of Peristophe roxburghiana (magenta plant) for application in textiles: A review. In Jawaid, M. and Khan, A. (Eds.). Vegetable fiber composites and their technological applications, Composites Science and Technology, pp 69-79. Singapore: Springer Nature.

Thangam, M. and Thamburaj, S. (2008). Comparative performance of tomato varieties and hybrids under shade and open conditions. Indian Journal of Horticulture, 65(4), 429-433.