การศึกษาปริมาณธาตุอาหารหลักสำหรับพืชในมูลด้วงกว่างชนและผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักจากมูลด้วงกว่างชน

Main Article Content

ณัฏฐนันท์ เรียบเรียง
ทัศนีย์ ไชยฮ้อย
จิตรกร กรพรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธาตุอาหารหลักสำคัญของพืชจากมูลด้วงกว่างชนที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสมหลักที่แตกต่างกัน ได้แก่ ขี้เลื่อย (มูล 1) และซังข้าวโพด (มูล 2) และปุ๋ยหมักจากมูลด้วงกว่างชนทั้งสองชนิด โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (effective microorganisms: EM) และใช้กระบวนการหมักแบบไม่ใช้อากาศ การวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) พบว่ามูลด้วงกว่างชนที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีขี้เลื่อยและซังข้าวโพดเป็นองค์ประกอบหลัก (มูล 1 และ มูล 2) มีธาตุอาหารไนโตรเจนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด (ต่ำกว่าร้อยละ 1.00 โดยน้ำหนัก) โดยมีค่าร้อยละ 0.22 และ 0.46 ตามลำดับ นอกจากนี้ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของมูล 2 สูงกว่ามูล 1 ในขณะที่ธาตุอาหารโพแทสเซียมของมูล 1 และ มูล 2 มีปริมาณใกล้เคียงกัน คือ 0.97 และ 0.94 ร้อยละโดยน้ำหนัก ตามลำดับ เนื่องจากความแตกต่างของปริมาณธาตุอาหารในเลื่อยและซังข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงด้วงกว่างชน ซึ่งซังข้าวโพดมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนและโพแทสเซียมสูงกว่าขี้เลื่อย สำหรับการวิเคราะห์ธาตุอาหารจำเป็นของพืชในปุ๋ยหมักจากมูลด้วงกว่างชนทั้ง 2 สูตร ได้แก่ ปุ๋ยหมักสูตรที่ 1 และปุ๋ยหมักสูตรที่ 2 พบว่าปุ๋ยหมักสูตรที่ 1 แสดงปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนร้อยละ 1.45 และปริมาณธาตุอาหารโพแทสเซียมร้อยละ 1.18 ซึ่งสูงกว่ามูล 1 มูล 2 และปุ๋ยหมักสูตรที่ 2 สำหรับปริมาณธาตุอาหารฟอสฟอรัสของปุ๋ยหมักสูตรที่ 1 มีปริมาณร้อยละ 1.10 และปุ๋ยหมักสูตรที่ 2 มีปริมาณร้อยละ 1.15 ซึ่งปุ๋ยหมักทั้งสองสูตรมีฟอสฟอรัสในปริมาณใกล้เคียงกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าปุ๋ยหมักจากมูลด้วงกว่างชนมีธาตุอาหารหลักจำเป็นต่อพืชในปริมาณสูง เมื่อเทียบกับปุ๋ยหมักที่นิยมนำไปใช้ในการเกษตร ดังนั้นมูลด้วงกว่างชนเป็นมูลชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และเหมาะกับการนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตรต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมวิชาการเกษตร. (2548). ปุ๋ยอินทรีย์. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมวิชาการเกษตร. (2551). คู่มือวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์. กรุงเทพฯ: กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี.

กรมวิชาการเกษตร. (2553). กระบวนการวิเคราะห์ ตรวจสอบดินทางเคมี. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2565, จาก: https://www.ldd.go.th/PMQA/2553/Manual/OSD-03.pdf.

นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-2565: อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2565, จาก: https://www.krungsri.com/getmedia/b2a858e1-a2c8-41ca-bb52-203cfd50ffb0/IO_Chemical_Fertilizer_200129_TH_EX.pdf.aspx.

เผดิมศิลป์ รามศิริ. (2548). ชีววิทยาของกว่างชน กว่างซางเหนือ และกว่างสามเขาเขาใหญ่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาชีววิทยา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พัชรี เดชเลย์ คมกฤษณ์ แสงเงิน ณัฐพงค์ จันจุฬา และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. (2565). ผลของปุ๋ยหมักจากต้นกล้วยหอมทองเสริมซีลีเนียมต่อการเจริญเติบโตผลผลิต และปริมาณซีลีเนียมของผักกาดหอม. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 41(1), 15-23.

พิสุทธิ์ เอกอำนวย. (2552). มาเลี้ยงด้วงกัน. กรุงเทพฯ: สวนสัตว์แมลงสยาม.

วัฒนณรงค์ มากพันธ์ เกษมสันติ์ คำบุญมา และปิยะ ขวดแก้ว. (2560). ปริมาณธาตุอาหารของปุ๋ยหมักชนิดต่าง ๆ จากขยะอินทรีย์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(2), 18-28.

สุภาพร รัตนาพันธุ์ ปราโมทย์ ทิมขำ เผดิมศิลป์ รามศิริ แสงแก้ว คำกวน นพรัตน์ จันทร์ไชย และนันทนา เตชนันท์. (2559). การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยมูลหนอนด้วงกว่างชน. แก่นเกษตร, 41(3), 269-274.

Bisen, P.S., Debnath, M. and Prasad, G.B.K.S. (2012). Microbes: Concepts and applications. New Jersey: Blackwell John Wiley and Sons.

Conklin Jr, A.R. (2005). Introduction to soil chemistry: Analysis and instrumentation. (2nd ed). New Jersey: Blackwell John Wiley and Sons.

Hsu, J.H. and Lo, S.L. (2001). Effect of composting on characterization and leaching of copper, manganese, and zinc from swine manure. Environmental Pollution, 114(1), 119-127, doi: https://doi.org/10.1016/S0269-7491(00)00198-6.

Soil and Plant Analysis Council. (2000). Soil analysis: Handbook of reference methods. Florida: CRC Press.