การสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนแบบเคมีสีเขียวโดยใช้สารสกัดจากเปลือกมังคุดเพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Green Synthesis of Silver Nanoparticles Using Garcinia mangostana Linn. for Antibacterial

Main Article Content

ปวีณา ปรวัฒน์กุล
มณฑกานต์ ทองสม
พรไพลิน ขาวสุข
ตอยิบ๊ะ ดอเลาะหมิ

Abstract

มีการรายงานการสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนแบบเคมีสีเขียว(AgNPs) ในสภาวะต่างๆโดยใช้สารสกัดจากเปลือกมังคุดเป็นตัวรีดิวซ์ สภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ คือสารละลายมีpH เท่ากับ 7 และใช้เวลาในการสังเคราะห์ 5 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ผลการสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนยืนยันได้จากการเปลี่ยนแปลงสีของสารละลาย และเทคนิค UV–VisibleSpectrophotometry ซึ่งปรากฏแถบการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นสูงสุดที่ 420 นาโนเมตร ที่เป็นลักษณะเฉพาะของอนุภาคซิลเวอร์นาโนที่ได้จากการสังเคราะห์ องค์ประกอบของอนุภาคซิลเวอร์นาโนยืนยันได้ด้วยเทคนิค FTIR และ SEM–EDXA และผลจาก SEM แสดงถึงขนาดอนุภาคของซิลเวอร์นาโนที่สังเคราะห์ได้มีขนาดอยู่ในช่วง 100–200 นาโนเมตรและพบว่าอนุภาคซิลเวอร์นาโนมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coliได้ดีอีกด้วย

The Green synthesis of silver nanoparticles (AgNPs) at a different conditionusing rind extract of Garcinia mangostana Linn. (Mangosteen) as reducing agent isreported. Optimum nanoparticle production was achieved at pH 7, a reaction temperature 80 oCand reaction time 5 hour. The synthesized AgNPs were confirmed by color transformation andUV-visible spectrophotometry. The UV-visible spectroscopic analysis showed theabsorbance peak at 420 nm which indicated the synthesis of silver nanoparticles.Composition analysis obtained from FTIR and SEM–EDXA confirmed the presence ofelemental signature of silver. SEM showed that the sizes of the synthesized AgNPsranged from 100 to 200 nm. In addition, the synthesized AgNPs showed a moderateantibacterial activity against Staphylococcus aureus and Escherichia coli.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)
Author Biographies

ปวีณา ปรวัฒน์กุล

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

มณฑกานต์ ทองสม

อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

พรไพลิน ขาวสุข

นักศึกษาสาขาวิชาเคมีชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ตอยิบ๊ะ ดอเลาะหมิ

นักศึกษาสาขาวิชาเคมีชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช