การพัฒนาน้ำดินหล่อแม่พิมพ์จากดินแดงพื้นบ้านเพื่อผลิตเครื่องเคลือบดินเผาระดับครัวเรือน The Development of Clay Slip Casting from Red Local Clay for Ceramic Household Production

Main Article Content

ฉัตรชัย แก้วดี
วิลาวัณย์ จินวรรณ
วีรพล ปานศรีนวล

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาน้ำดินหล่อแม่พิมพ์จากดินแดงพื้นบ้านให้มีสมบัติเหมาะสมต่อการผลิตเชิงอุตสาหกรรมระดับครัวเรือน โดยสามารถขึ้นรูปได้ด้วยกระบวนการหล่อในแม่พิมพ์ปลาสเตอร์สำหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อผลิตสินค้าของใช้ และของที่ระลึกด้วยวิธีการผลิตของชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมวิธีการใหม่ๆ ให้กับผู้ผลิตสินค้าระดับครัวเรือนในท้องถิ่น และสามารถเตรียมวัตถุดิบ ผลิต เผา และตกแต่งผลิตภัณฑ์ได้ด้วย โดยทำการศึกษากับวัตถุดิบท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วยการใช้อัตราส่วนผสมแบบตารางสามเหลี่ยมด้านเท่า(Tri-axial diagram) ระหว่าง ดินแดงทุ่งน้ำเค็ม : ดินขาวบ้านควนคลัง : ทรายน้ำแคบ ร่วมกับสารช่วยการแขวนลอย (Colloid) ได้แก่ โซเดียมซิลิเกต ร้อยละ 0.2 ด้วยการทดสอบสมบัติเนื้อดินหล่อจากดินแดงพื้นบ้านตามมาตรฐานสมบัติผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะเซรามิกชนิดเอิร์ทเทินแวร์
(Earthenware) และทำการทดลองที่อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส และทดลองเผาเคลือบที่อุณหภูมิ1,100 องศาเซลเซียสผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนระหว่าง ดินแดงทุ่งน้ำเค็ม : ดินขาวบ้านควนคลัง : ทรายน้ำแคบ มีอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมเท่ากับ 59 : 12 : 29 โดยมีลักษณะสีหลังเผาน้ำตาลส้ม ผิวเรียบความชื้นก่อนเผาร้อยละ 28.25 การหดตัวก่อนเผาร้อยละ 13.78 การหดตัวหลังเผาร้อยละ 18.30
ความแข็งแรงก่อนเผา 5.12 Kg/cm2 ความแข็งแรงหลังเผา 27.36 Kg/cm2 การดูดซึมน้ำหลังเผา ร้อยละ 16.21 มีความถ่วงจำเพาะ 1.78 ลบ.ซ.ม./กรัม อัตราการไหลของน้ำดิน 47 วินาที/100 มิลลิกรัม ระยะเวลาการก่อรูปที่ความหนา 4 มิลลิเมตร ใช้เวลา 16 นาที ลักษณะผิวภายในแม่พิมพ์เรียบมากที่สุด ระยะเวลาการถอดออกจากแม่พิมพ์ระดับมากที่สุด (30 นาที) คุณภาพการถอดออกจากแม่พิมพ์ในระดับมากที่สุด และหลังการสอบถามความพึงพอใจผู้ผลิตในเขตพื้นที่บ้านมะยิงอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความพึงพอใจต่อเนื้อดินที่ผลิตเป็นเครื่องปั้นดินเผาด้วยวิธีการหล่อแม่พิมพ์ปลาสเตอร์เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X???? = 4.51, SD = 0.17) และผู้จำหน่ายสินค้าในเขตพื้นที่บางปู อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X????=4.42,SD=0.22)

 

This research aimed to develop a mold slip casting from local red clay tobe suitable for household production. The mold slip casting can be molded by casting in plaster molds for small and medium of house ware and souvenir with the local community productions. The process could be promoting a new way to produce a local household, preparing of raw materials, method, firing and finishing products. The study was experimental with the tri-axial diagram of local material in Nakhon Si Thammarat province between Tong Numkam red clay: Ban Kuanklang kaolin: NamKap sand, the colloid material (Sodium silicate) 0.2%, and testing properties of slip casting body from the local red clay, suitable industrial standard earthenware ceramic containers with fired at temperatures of 850°C and glaze firing temperatures of 1,100°C. The results of the research showed; the ratio of Tong Numkam red clay: Ban Kuanklang kaolin: NamKap sand at 59: 12: 29, the color after kilning was orangebrown, smooth texture, the moisture before kilning at 28.25%, shrinking before kilning at 13.78%, the strength after kilning at 18.30%, the strength before kilning at 5.12 Kg/cm2, the strength after kilning at 27.36 Kg/cm2, the water absorption after kilning at 16.21%, the specific gravity at 1.78 Lb.s.m./g, the ground slip casting flow rate of 47 seconds/100 mg, the formation thickness time of 4 mm at 16 minutes, inside the mold surface smooth as possible, the period removed from the mold at the highest level (30 minutes), the quality removed from the mold at the highest level. The satisfaction of community manufacturers in Ban Maying, Tha Sala district, Nakhon Si Thammarat province about the clay slip casting for ceramic mold were at excellent level (X???? = 4.51, SD = 0.17) and the satisfaction of community dealers in Ban Bang Pu, Tha Sala district, Nakhon Si Thammarat province were at good level (X????=4.42, SD=0.22).

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)
Author Biography

ฉัตรชัย แก้วดี

อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช