ผลของสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดเบญจมาศในสภาพปลอดเชื้อ Effect of Culture Media on Growth of Chrysanthemum Seed In Vitro

Main Article Content

ชญานีย์ สังวาลย์
ผการัตน์ โรจน์ดวง
สุภาวดี รามสูตร
ศุภมาส แซ่เดี่ยว
เสาวลักษณ์ ชูด้วง

Abstract

เมล็ดเบญจมาศสายพันธุ์เหลืองเกษตรเพาะเลี้ยงบนอาหาร 3 สูตร ได้แก่ อาหารสูตร MS (Murashige and Skoog, 1962), อาหารสูตร MS ที่ลดความเข้มข้นลงครึ่งหนึ่ง (½ MS) และอาหาร สูตร MS ที่ลดความเข้มข้นลงหนึ่งในสี่ (¼ MS) ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 2 % และผงวุ้น 0.75 % ภายใต้  สภาพให้แสง ที่ความเข้มแสง 3000 μmol/m2/sec เป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน อุณหภูมิ 25±2C หลังจากเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าอาหารสูตร ¼ MS ให้อัตราการงอกสูงสุด 55.3 % รองลงมาคืออาหารสูตร ½ MS (41.7%) และ อาหารสูตร MS (39.8%) ตามลำดับ สำหรับการเจริญของยอด พบว่า อาหารสูตร ¼ MS ให้ความยาวยอดเฉลี่ยสูงสุด 3.06 ซม. ส่วนอาหารสูตร ½ MS ให้ความยาวใบ เฉลี่ยและจำนวนใบเฉลี่ยสูงสุด 1.29 ซม. และ 5.77±4.65 ใบ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามอาหารสูตร MS ให้ความยาวรากเฉลี่ยสูงสุด 2.16±2.32 ซม.ต่อชิ้นส่วน

The seeds of Chrysanthemum cv. Luang Kaset were cultured on Murashige and Skoog, 1962), ½ MS and ¼ MS medium supplemented with 2 % sucrose and solidified with 0.75% agar. The cultures were maintained at 25±2 °C under a 16-h photoperiod with 3,000 μmol/m2/sec photosynthetic photon flux density.
After culturing for 3 months, ¼ MS medium gave the highest average percentage of germination rate at 55.3, followed by ½ MS (41.7%) and MS medium (39.8%). For shoot growth, ¼ MS medium gave the highest average shoot length at 3.06±2.04 cm ½ MS medium gave the highest average leaf length and average number of leaves at 1.29±1.08 cm and 5.77±4.65 leaves, respectively. However, MS medium gave the highest average root length at 2.16±2.32 cm

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)
Author Biographies

ชญานีย์ สังวาลย์

นักวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผการัตน์ โรจน์ดวง

อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

สุภาวดี รามสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช