ผลกระทบของการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง

Main Article Content

ปิยวรรณ เนื่องมัจฉา
ประวิทย์ เนื่องมัจฉา

Abstract

การศึกษาผลกระทบของการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินตามแนวโน้มในอนาคตโดยใช้แบบจำลอง Markov chain พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าพื้นที่อื่น โดยจะเพิ่มขึ้นเป็น 32,740.26 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 32.47 ของพื้นที่ตำบลในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งมากกว่าพื้นที่เกษตรกรรมทุกประเภทในตำบลเคร็ง ในขณะที่พื้นที่ นาข้าว นาร้าง และพื้นที่เกษตรกรรมอื่นๆ จะเริ่มลดลง ส่วนการศึกษาผลกระทบจากการขยายตัวของ ปาล์มน้ำมันต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในพื้นที่พรุควนเคร็งพบว่า บริเวณพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันมี ปริมาณฟอสเฟตฟอสฟอรัสในแหล่งน้ำสูงที่สุด เมื่อเทียบกับพื้นที่พรุสมบูรณ์ และพื้นที่พรุเสื่อมโทรม ส่วนพารามิเตอร์อื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกันทั้งสามพื้นที่ สำหรับสมบัติของดินในพื้นที่พรุควนเคร็ง พบว่า ความเป็นกรดด่างมีค่าอยู่ในช่วง 3.98–4.89 และปริมาณอินทรียวัตถุมีค่าอยู่ในช่วง ร้อยละ 13.60 – 19.70 ในส่วนของปริมาณธาตุอาหารในดินพบว่า พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน มีปริมาณฟอสฟอรัส ในดินมากกว่าพื้นที่พรุสมบรูณ์และพื้นที่พรุเสื่อมโทรมเช่นเดียวกับคุณภาพน้ำ นอกจากนี้ประชาชน ในพื้นที่พรุส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของปาล์มน้ำมันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่พรุควนเคร็ง

 

The Effect of Oil Palm Expansion on Environmental Change in Kuan Kreng Peat Swamp Forest

The study on oil palm expansion impact was affected in the context of environmental change of Kuan Kreng peat swamp forest, Cha-uat district at Nakhon Si Thammarat. Researchers found that the Markov chain model predicted oil palm plant area of Kreng Sub-district. Data was represented the area gain to 32,740.26 rai (or 32.47 percent of Sub-district area) in 2022. With the effects, the agricultural areas will change to be paddy field, abandoned paddy field, and other agricultural areas will be decreasing. The effects of oil palm expansion on environmental change found that the oil palm areas had the highest phosphate-phosphorus in water. While compare the undisturbed peat swamp forests, disturbed peat swamp forests was found. The soil quality concerned in Kuan Kreng Peat Lands found that pH and organic matter as between 3.98 – 4.89 and 13.60 – 19.70 percents, respectively. The nutrient in soil found that the oil palm areas had phosphorus, which more than undisturbed peat swamp forests and disturbed peat swamp forests as well as water quality. The people’s perception were to oil palm indicated that the oil palm increasing did not affect to livelihood change of people and environmental change in Kuan Kreng peat lands.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)