กิจกรรมการย่อยสลายตัวเองในกล้ามเนื้อกั้งตั๊กแตน

Main Article Content

จันทิรา วงศ์วิเชียร
ฐิติมา ลือแมะ

Abstract

จากการศึกษากิจกรรมการย่อยสลายตัวเองของกล้ามเนื้อกั้งตั๊กแตนในระหว่างการเก็บรักษา ในน้ำแข็งเป็นเวลา 10 วัน พบว่ากล้ามเนื้อกั้งตั๊กแตนมีการย่อยสลายตัวเองตลอดทั้ง 10 วัน ที่เก็บรักษาในน้ำแข็ง (p<0.05) หลังจากวันที่ 4 ของการเก็บรักษา กิจกรรมการย่อยสลายตัวเอง เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดโดยจะเห็นได้จากการลดลงของแถบไมโอซินเส้นหนักบน SDS-PAGE และการเพิ่มขึ้น ของปริมาณเปปไทด์ที่ละลายได้ในกรดไตรคลอโรอะซิติก (p<0.05) นอกจากนี้จากการศึกษา คุณลักษณะรูปแบบการย่อยสลายตัวเองในกล้ามเนื้อกั้งตั๊กแตนโดยการบ่มกล้ามเนื้อกั้งตั๊กแตนบดที่ อุณหภูมิ (30–80 องศาเซลเซียส) และพีเอชต่างๆ (2.0–12.0) พบว่าการย่อยสลายตัวสูงสุดเกิดขึ้นที่ อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส และพีเอชที่เหมาะสมต่อกิจกรรมการย่อยสลายตัวเองของกล้ามเนื้อ กั้งตั๊กแตนเท่ากับ 4.0 และ 9.0

 

Autolytic activity of mantis shrimp (Harpiosquilla raphidea) muscle

Autolysis of mantis shrimp (Harpiosquilla raphidea) muscle during 10-day iced storage was characterized. Autolytic degradation of mantis shrimp muscle increased throughout 10 days of iced storage (p<0.05). After day 4, autolysis was markedly increased by the result of the decrease in MHC band intensity on SDS-PAGE and the increase in TCA-soluble peptides (p<0.05). Characterization of the autolytic profile of mantis shrimp muscle was also investigated. Mantis shrimp mince was incubated at different temperatures (30 – 80oC) and pH (2.0-12.0). The highest autolysis was observed at 60oC. Optimum pH for the autolysis of mantis shrimp mince was found at 4.0 and 9.0.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)