การฝึกทักษะการบันทึกสำหรับบัญชีกิจการซื้อมาขายไปโดยใช้การจำลองสถานการณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
การฝึกทักษะการบันทึกสำหรับบัญชีกิจการซื้อมาขายไปโดยใช้การจำลองสถานการณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชมีความมุ่งหมายการวิจัย 3 ประการคือ 1) ให้นักศึกษามีทักษะการทำบัญชีสำหรับบริษัทที่ประกอบกิจการซื้อมาขายไป พร้อมจัดทำเอกสารประกอบรายการค้าโดยใช้วิธีจำลองสถานการณ์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของร้านค้าในชุมชนต่อการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีสำหรับร้านค้าขนาดเล็กของนักศึกษา และ 3) เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการทำงานเป็นทีมประชากรในการวิจัยประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาการบัญชี จำนวน 102 คน และเจ้าของกิจการซื้อมาขายไปจำนวน 6 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกทักษะการทำบัญชีสำหรับกิจการซื้อมาขายไปแบบประเมินความพึงพอใจของเจ้าของร้านค้าขนาดเล็กที่มีต่อการถ่ายทอดความรู้ของนักศึกษาหลักสูตรการบัญชีชั้นปีที่ 2 และแบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มรายบุคคล ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองระหว่างวันที่ 1ธันวาคม 2555 ถึง 30 พฤศจิกายน 2556 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ โดยมีผลการวิจัยการฝึกทักษะการทำบัญชีสำหรับกิจการซื้อมาขายไปพบว่า นักศึกษามีคะแนนการฝึกทักษะคิดเป็นร้อยละ 77.33 สำหรับความพึงพอใจของเจ้าของร้านค้าขนาดเล็กที่มีต่อการถ่ายทอดความรู้ของนักศึกษาหลักสูตรการบัญชี ชั้นปีที่ 2 อยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 ในด้านทักษะการทำงานเป็นทีม พบว่าพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.07 จากคะแนนเต็ม 8 คะแนน โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43
Technical Skill for Merchandising account of the second year students in Accountancy Program through The Simulation Method : Case study of NSTRU.
The purposes of this research were: 1) the students had making accounting skill for merchandising firm and created appropriate documents using simulation; 2) to study the satisfaction of the stores in the community in term of knowledge propagation involved in making accounting for the students’ smaller stores,
and 3) to develop the students’ collaborative. The sample consisted of 102 second-year accounting students and 6 merchandising firm owners. The instrument used for gathering data were a questionnaire on merchandising firm owners’ opinions toward the second-year accounting students’ knowledge propagation and an observation form regarding the individual’s activity participation. The researcher had examined during December 1, 2012 to November 30, 2013. The mean, standard deviation of items and percentage were used to analyze data. The results of the study were the average score of the students’ skill toward making accounting for merchandising firm was 77.33, the satisfaction of the stores in the community in term of knowledge propagation involved in making accounting for the students’ smaller stores was extremely satisfactory which average score was 4.43 from 5, the standard deviation as 0.49 and the average score of the students’ collaborative was 7.07 from 8, the standard deviation as 0.43
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.