การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการทำบัญชีของธุรกิจบริการที่มีการบันทึกบัญชีด้วยสถานการณ์จำลองและเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีของนักศึกษาระดับปริญญาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรการบัญชี คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

จิรัชญา งามขำ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการทำบัญชีของธุรกิจบริการที่มีการบันทึกบัญชีด้วยสถานการณ์จำลองและเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาสาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชโดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการทำบัญชีของธุรกิจบริการก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกปฏิบัติเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 79 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ในการทำแบบทดสอบวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียนของการบันทึกบัญชีโดยใช้สถานการณ์จำลองของธุรกิจบริการ และจากการทำแบบทดสอบวัดผลหลังเรียนการบันทึกบัญชีโดยใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีของธุรกิจบริการ พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น และการบันทึกบัญชีโดยใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีได้คะแนนดีกว่าการบันทึกบัญชีโดยใช้สถานการณ์จำลอง อาจเนื่องมาจากนักศึกษาได้ใช้รูปแบบและชนิดของเอกสารที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อมีการพัฒนารูปแบบการเรียนที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาดีขึ้น และในส่วนความพึงพอใจของพนักงานธุรกิจบริการ จำนวน 2 ราย สรุปมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากการให้บริการวิชาการในครั้งนี้อยู่ในระดับมากที่สุด


A Study of Learning Achievement on Hospitality business accounting learning by using Simulation and document based accounting software of third-year students, B.B.A of Accounting, Faculty of Management Sciences, Nakhonsrithammarat Rajaphat University

A study of Learning Achievement on Hospitality business accounting learning by using simulation and documents based accounting software. The target population is the students of accounting department, the Faculty of Management Sciences, Nakhonsrithammarat Rajabhat University, by using the achievement test on bookkeeping of service business, collecting from 79 students, before and after applying the training package as a measurement tool for this research. Data are analyzed by mean, standard deviation, and percentage. According to the collected data, the findings of this research can be illustrated that the students got higher average test scores before and after the learning of account recording of service business by applying simulation method and in the test before and after the learning of account recording by relying on source documents of service business. The result also shows that account recording by relying on source documents can gain better scores than by simulation method probably because the students can encounter with those formats and types of documents in their daily lives. Consequently, a development of learning style which affects students’ knowledge and understanding can let to better result of students’ learning achievement. Regarding the satisfaction of 2 staffs in service business, it can be summarized that the mean score of satisfaction from this academic service of the students and the researcher can reach the highest level.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)