แหล่งท่องเที่ยวสนสร้อยเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

Main Article Content

เขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ

Abstract

โครงการวิจัยเรื่องการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสนสร้อยเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ณ พื้นที่สนสร้อย ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สนสร้อยตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิ ชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สนสร้อย ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อวิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรมในตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการเก็บข้อมูลภาคสนามในการศึกษาครั้งนี้เป็นการผสมผสานระหว่างวิธีการศึกษาเชิงปริมาณ ในลักษณะการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept Interview) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแนวคำถามเชิงลึก และการจัดกลุ่มสนทนา

ผลการวิจัยพบว่า บริบทข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับชุมชนที่มีลักษณะความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายแบบพอเพียง โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงและการเกษตร และยังคงใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีพื้นบ้านในการประกอบอาชีพค่อนข้างมาก ส่วนการใช้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่จากภายนอกยังมีค่อนข้างน้อย ในปัจจุบันพื้นที่เริ่มประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการทำลายทรัพยากรชายฝั่งมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีตที่เคยมีความอุดมสมบูรณ์และมีระบบนิเวศที่สวยงาม อีกทั้งยังมีข้อจำกัดด้านปัจจัยพื้นฐาน อาทิ สภาพที่ดินและแหล่งน้ำจืดที่ใช้ในการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการบุกรุกของนายทุนเข้ามาตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแต่คนในชุมชนมีทุนทางสังคมที่เข้มแข็งจึงสามารถช่วยกันดูแลเฝ้าระวังกันได้ จึงจำเป็นต้องมีการปลูกฝังจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปผลวิจัยพบว่าข้อมูลที่ได้จากภาคสนามและแบบสอบถามทั่วไปสามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูล หลักคิด และแนวทางการวางแผนเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรม รวมทั้งในด้านศักยภาพความพร้อมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์บนฐานของเศรษฐกิจชุมชนแบบพอเพียงเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนท้องถิ่น ดังพบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 92) เห็นด้วยอย่างมากที่ควรให้มีการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน (วิทยาลัยชุมชน) ซึ่งทั้งนี้ฐานข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


The planning for development of Sonsoi eco tourism and cultural sustainability

The planning for development of Sonsoi eco tourism and cultural sustainability

The project research for the planning for development for Sonsoi eco tourism and cultural sustatainability in the area of Pin at Tungprang Sub-district, Sichon District, Nakhon Si Thammarat Province Objectives are following;

1. To research and collect the data about eco tourism and cultural sustainability in the area of Pin at Tungprang Sub-district, Sichon District, Nakhon Si Thammarat Province

2. To learn about the guideline for The planning for development of Sonsoi eco tourism and cultural sustainability in the area of Pin at Tungprang Sub-district, Sichon District, Nakhon Si Thammarat Province

3. To Analysis and recommend the guidelines concerning The planning for develop of Sonsoi eco tourism and cultural sustainability in the area of Sonsoi at Tungprang Sub-district, Sichon District, Nakhon Si Thammarat Province analyzed by collecting data from outdoor and combination between of quantities
methods, survey research and a qualitative study. This was done by using In-depth Interviews, interview , insights questions and conversation group

The result of the research found that the context of general information is simple living and sufficiency economy, t most of the people are the fishermen and farmers. They still use local wisdom and local technology to help their occupation. Fewer of people use new technology. At present, the area is experiencing environmental problems and destruction of coastal resource more than before. If we compare to the past, this area was an abundant beautiful ecosystem. There is a fundamental limitation, for example the soil and fresh water used in agriculture. Also the intrusion of capitalist industry came to build factories. But the people in the community are strong to protect and prevent this. So they need to be aware to conserve the Natural Resources and Environment. Summary results of this research found that the information from outdoor and questionairs can be the database, the maid idea and the guidelines for the planning for development of Sonsoi eco tourism and cultural sustainability. Included with the potential readiness and the possibilities for economic development was based on a sufficiency economy to promote the income for the people in the community. The result found that most of people in the community (92%) agree for setting the learning center in the community (Community College). In addition, such a database would be useful to apply the guidelines developed effectively.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)