ผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีต่อความคล่องตัวของนักกีฬาเซปักตะกร้อชาย

Main Article Content

ทวีศักด์ิ หนูสุวรรณ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีต่อความคล่องตัวของนักกีฬาเซปักตะกร้อชาย โดยเปรียบเทียบความคล่องตัวของนักกีฬาเซปักตะกร้อที่ฝึกโปรแกรมเซปักตะกร้อปกติเพียงอย่างเดียวและกลุ่มที่ฝึกโปรแกรมตาราง 9 ช่องร่วมกับฝึกโปรแกรมเซปักตะกร้อปกติก่อนและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบความคล่องตัวของนักกีฬาเซปักตะกร้อระหว่างกลุ่มที่ฝึกโปรแกรมตาราง 9 ช่องร่วมกับฝึกโปรแกรมเซปักตะกร้อปกติกับกลุ่มที่ฝึกโปรแกรมเซปักตะกร้อปกติเพียงอย่างเดียว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเซปักตะกร้อชายโรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 28 คน แบ่งกลุ่มด้วยวิธีสุ่ม (Random Assignment) แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 14 คน คือ กลุ่มควบคุมฝึกโปรแกรมเซปักตะกร้อปกติและกลุ่มทดลองฝึกโปรแกรมตาราง 9 ช่องร่วมกับฝึกโปรแกรมเซปักตะกร้อปกติ ใช้เวลาฝึก 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบทดสอบมาตรฐานของ Semo Agility Test ใช้ทดสอบความคล่องตัว และโปรแกรมการฝึกตาราง 9 ช่องที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน (Med) ค่าควอไทล์ (Q) และส่วนเบี่ยงควอไทล์ (Q.D.) และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test และ The Mann-Whitney U-Test ผลการวิจัยพบว่า นักกีฬาเซปักตะกร้อที่ฝึกโปรแกรมตาราง 9 ช่องร่วมกับฝึกโปรแกรมเซปักตะกร้อปกติมีความคล่องตัวสูงกว่ากลุ่มฝึกโปรแกรมเซปักตะกร้อปกติเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Effect of Nine square Training Program on agility of Male Sepaktakraw Athletes

The purpose of this study was to investigate whether the Nine - square training program together with normal training program has similar effects as or better than normal training program on agility in male Sepaktakraw players. Twenty-eight players from Nakhon Si Thammarat Sports School were randomly placed into a control group who took part only normal training program (n = 14) and an experimental group who enrolled in Nine-square training program along with normal training program (n=14). The participants’ agility was tested prior to and after completing the 8-week training study by using the Semo Agility Test. Results indicated significant (p < 0.05) improve in agility within each group following training. Moreover, experimental group performed significant (p < 0.05) better in agility than control group following training.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)