ระบบรับสมัครนักศึกษาประเภทคัดเลือกตรงออนไลน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุธิดา ไทยกลาง
วิชิต สุขทร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบรับสมัครนักศึกษาประเภทคัดเลือกตรงออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลการรับสมัครนักศึกษาประเภทคัดเลือกตรง 3) เพื่อลดรอบกระบวนการดำเนินงาน และลดภาระงานของบุคลากรในงานรับสมัคร 4) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์และจัดส่งเอกสารในกระบวนการรับสมัคร 5) เพื่อแก้ไขปัญหาความซ้ำซ้อนและความผิดพลาด และ 6) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบรับสมัครนักศึกษาประเภทคัดเลือกตรงออนไลน์ การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาระบบฐานข้อมูลของระบบรับสมัครนักศึกษา และขั้นตอนที่ 2 สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สมัครเรียนภาคปกติในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเภทคัดเลือกตรงประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 1,931 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ การออกแบบและการพัฒนาระบบรับสมัครนักศึกษาประเภทคัดเลือกตรงออนไลน์ และแบบสอบถามเพื่อวัดความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ ซึ่งแบบสอบถามประกอบไปด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นข้อมูลทั่วไป การประชาสัมพันธ์ และความต้องการศึกษาต่อของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วน 5 ระดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและหาค่าเฉลี่ย (x̅)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ทราบข้อมูลการรับสมัครจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 36.84 และ ทราบข้อมูลจากสถานีวิทยุกระจายเสียงน้อยสุด คิดเป็นร้อยละ 0.68 และ 2) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อกระบวนการรับสมัคร และการใช้งานระบบรับสมัครออนไลน์เฉลี่ย รวมอยู่ในระดับ มีความพึงพอใจมาก (x̅ = 3.82)


Direct Admission Online System of Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

 

This research aimed to 1) develop the online direct admission system for Nakhon Si Thammarat Rajabhat University 2) build up public relations channel and distribute the information of the online direct admission to the right target and quickly information access 3) reduce the implementation process and the workload of personnel in admission work 4) reduce the cost of printing, sending documents, and other expenses associated with the admission process for both the candidate and the university 5) resolve the redundancy, the error, and the incorrect filling of the admission information, and 6) measure the satisfaction of online direct admission system users. This research was divided into important two stages is stage 1: Development of the database direct admission system and stage 2: Survey of user satisfaction with the system

 

The participants were 1,900 students applying in the regular program of Nakhon Si Thammarat Rajabhat University in academic year 2012. Tools used in this research consisted of two parts: an experiment to develop the online direct admission system and the questionnaire to measure user satisfaction. The questionnaire had 2 parts: first was general information, public relations, and the need for education of the respondents which was a five-level scale determined by a percentage and average.

The results of this research were summarized: 1) 36.84 percent of respondents were aware of the admission from the university websites and less aware of the radio station for 0.68 percent, and 2) The opinion of the respondents on the admission process and the use of online admission system in average was very satisfied (\inline \bar{x} = 3.82).

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)