การกระจายตัวและการเคลื่อนย้ายของสารหนูและแร่ธาตุอื่นๆ ในหลุมตะกอนของระบบแม่น้ำาหลักในประเทศบังคลาเทศ

Main Article Content

Mohd Nur E Alam Siddique
M. Golam Mostafa
AMS Alam
M. Anwarul Islam
Uzma Khalil
Fakir Rafiqul Alam

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาทางธรณีวิทยาของตะกอนโฮโลซีนในแม่น้ำาพัตมา จูมูนา และเม็คนา ที่เชื่อมต่อที่ราบทิสต้าและที่ราบน้ำาท่วมบราห์มาพุตราทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบังคลาเทศ สารหนูถูกผลิตขึ้นในเปลือกโลกและรอยหิน ดิน และน้ำบาดาลเป็นปริมาณมาก ตะกอนทั้งหมดถูกเก็บจากความลึกหลายระดับตั้งแต่ 1 ถึง 6 เมตร ด้วยขั้นตอนการขุดแบบปกติ โดยใช้ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว ท่อผ่าน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเข้มข้นของสารหนูและแร่ธาตุหนักอื่นๆ (เช่น เหล็ก แมงกานีส โครเมียม ทองแดง และนิกเกิล) เพื่อให้เข้าใจการเคลื่อนย้ายทางธรณีวิทยาและธรณีเคมีของสารหนูทั้งทางแนวตั้งและแนวนอนตามแนวที่ราบต่ำสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ รวมทั้ง เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสารหนูและโลหะหนักดังกล่าว ผลการสำารวจพบว่า ตะกอนจากแม่น้ำาพัตมามีปริมาณสารหนูมากกว่าตะกอนจากแม่น้ำาจูมูนาและแม็คนา โดยพบความสัมพันธ์ระหว่างสารหนูกับความเข้มข้นของธาตุเหล็กในระดับที่สูงกว่าทองแดงและแมงกานีส

Article Details

บท
บทความวิจัย